10ข้อที่ผู้ลงทะเบียนสงสัย เป็นเช่นนี้จะได้เงินประกันไฟฟ้าหรือไม่

           หลังจากที่เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ก็ทำให้คนจำนวนมากพากันไปลงทะเบียนเพื่อรับเงินช่วยเหลือ แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าต้องลงทะเบียนรับเงินคืนอย่างไร พร้อมมีข้อสงสัยอีกมากมาย เราจึงรวบรวมคำถามต่าง ๆ มาคลายข้อสงสัยให้กับทุกท่านดังนี้

1. ใครลงทะเบียนรับเงินประกันไฟฟ้าได้บ้าง 

-ต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก 

-ต้องเป็นเจ้าของมิเตอร์ผู้วางเงินประกัน ณ เวลาที่มาแจ้งขอใช้ไฟฟ้าเท่านั้น

2. ได้รับเงินประกันไฟฟ้าคืนเท่าไร 

 แต่ละบ้านจะได้รับเงินไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ที่ใช้อยู่ โดยมิเตอร์แต่ละขนาดจะมีอัตราเงินประกัน ดังนี้

3. ลงทะเบียนคืนเงินประกันไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวงได้อย่างไร 

      สำหรับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ นนทบุรี ให้ลงทะเบียนผ่านช่องทางของการไฟฟ้านครหลวง (MEA) อาทิ

-ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง  

-ลงทะเบียนทางโทรศัพท์ หมายเลข 02 256 3333 (วันที่ 25 มีนาคม – 29 พฤษภาคม 2563)

-ลงทะเบียนที่ทำการไฟฟ้านครหลวง 18 เขต ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

4. ลงทะเบียนคืนเงินประกันไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้อย่างไร 

สำหรับผู้อยู่อาศัยในต่างจังหวัด ให้ลงทะเบียนผ่านช่องทางของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) อาทิ

-ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  

-สแกน QR Code ในใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคม

-ติดต่อที่ทำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

5. ลงทะเบียนได้ถึงวันไหน 

          เริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป และจะไม่มีกำหนดสิ้นสุด ดังนั้น หากเปิดให้ลงทะเบียนแล้ว ก็ไม่ต้องรีบไปลงทะเบียน เพราะสามารถลงทะเบียนได้ตลอดเวลา ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง

6. ชื่อเจ้าของบ้านไม่ตรงกับชื่อเจ้าของมิเตอร์ ขอรับเงินประกันคืนได้ไหม 

         กรณีนี้ จะรับเงินคืนได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของมิเตอร์ (ผู้วางเงินประกันการใช้ไฟฟ้า) ต้องทำหนังสือโอนสิทธิ์เงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้กับเจ้าของบ้านแล้วเท่านั้น ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขอรับเงินประกันได้ เนื่องจากเจ้าของบ้านไม่ได้เป็นผู้วางเงินประกันตั้งแต่ต้น ดังนั้นต้องโอนสิทธิ์ก่อน แล้วนำเอกสารต่อไปนี้ มาแจ้งต่อการไฟฟ้าฯ 

-หนังสือการโอนสิทธิ์ให้รับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจากเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ผู้ร้องขอ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม กฟน. หรือ กฟภ.) หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อ-ขาย โฉนดที่ดิน น.ส.3 ก. 

-หลักฐานผู้ขอรับเงิน กรณีเป็นบุคคลธรรมดา บัตรประจำตัวประชาชน  -กรณีเป็นนิติบุคคล สำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า อายุไม่เกิน 1 เดือน ประทับตรานิติบุคคลฯ ทุกฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามรับรอง และบัตรประชาชนของผู้ลงนามมอบอำนาจ 

-ใบเสร็จรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ถ้ามี)

-หน้าสมุดเงินฝากธนาคารที่มีเลขที่บัญชีและชื่อของเจ้าของบัญชี กรณีเลือกขอรับเงินโดยการโอนเงิน (ชื่อบัญชีเดียวกับชื่อผู้ขอรับเงินเท่านั้น)

7.สามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรส แต่ปัจจุบันแยกกันอยู่ จะขอคืนเงินประกันได้ไหม 

-การไฟฟ้าฯ จะคืนเงินประกันไฟฟ้าให้ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของเงินประกันการใช้ไฟฟ้า หากสามีเป็นผู้วางเงินประกันก็สามารถขอเงินคืนได้ แต่หากภรรยาต้องการขอเงินคืน สามีต้องทำหนังสือโอนสิทธิ์ให้ความยินยอมก่อน

8. บ้านที่ถูกหักค่าไฟฟ้าจากเงินประกันไป ไม่เหลือเงินประกันแล้ว ต้องทำอย่างไร 

-หากยังมีการใช้ไฟเป็นปกติ ไม่ต้องดำเนินการขอคืนเงินประกัน

-หากมีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระ ให้ดำเนินการตามกระบวนการงานติดตามเร่งรัดหนี้ งดจ่ายไฟต่อไป

9.ขายบ้านไปแล้วแต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ เจ้าของเดิมสามารถขอรับเงินประกันคืนได้ไหม 

– หากเจ้าของเดิมยังไม่ได้โอนสิทธิ์ให้ใคร ก็สามารถลงทะเบียนรับคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าได้เลย

10. ยื่นเอกสารทั้งหมดได้ที่ไหน 

-สามารถยื่นเอกสารออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ กฟน. และ กฟภ. ก็ได้

         ข้างต้นนั้นเป็นเพียงรายละเอียดคราวๆเท่านั้น ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบได้ที่การไฟฟ้านครหลวง โทร. 1130 หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร. 1129 หรือที่ เฟซบุ๊ก การไฟฟ้านครหลวง และ เฟซบุ๊ก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA

เรียบเรียงโดย: tkvariety