ใช้ชีวิตคนเดียว หากเป็นอะไรไป ทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มี ธ.จะแจ้งญาติไหม

           เป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย เมื่อร่างกายดับสูญไป นอกจากความดีที่เราจะเหลือไว้แล้ว บางคนยังมี “มรดก” จำนวนหนึ่งเหลือทิ้งไว้ให้คนข้างหลังด้วย หลายคนที่ไม่ต้องการความวุ่นวาย ก็จะทำพินัยกรรมไว้ อย่างชัดเจนว่า มรดกนี้ให้ใคร 

1. ทรัพย์สิน คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ   และที่สำคัญจะเป็นมรดกได้ ทรัพย์สินนั้นต้องเป็นของผู้ตายอยู่แล้วในเวลาที่ถึงแก่ความตาย เช่น บัญชีเงินฝากในธนาคาร บ้าน ที่ดิน แก้วแหวน ทองคำ หุ้น เป็นต้น   แต่มีทรัพย์บางประการที่กฎหมายถือว่าไม่เป็นทรัพย์มรดก เพราะได้มาเพราะความตาย เช่น เงินบำนาญตกทอด เงินทุนสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลืองานศพ เงินชดเชยที่เกิดจากความตาย เงินประกันชีวิต เป็นต้น

2. ทายาท คือ ผู้มีสิทธิรับมรดก โดยมรดกจะตกทอดสู่ทายาทตามสิทธิตามกฎหมายหรือเรียกว่า ทายาทโดยธรรม และทายาทอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า ทายาทโดยพินัยกรรม

          แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีครอบครัว ไม่มีลูกหลาน ก็อยากจะทราบว่า ถ้าเราจากไปแล้ว ทรัพย์สินเหล่านี้จะไปอยู่ไหน ซึ่งการรับมรดก หากจากไปแบบไม่มีพินัยกรรมก็ไม่ต้องกังวลมากเท่าไร เพราะกฎหมายให้ความยุติธรรมเสมอ วันนี้เราจึงนำความรู้เรื่องนี้มาฝาก 

         เมื่อเราตายไป ทรัพย์สินทุกอย่างที่เป็นของเราจะถูกนับรวมๆ กันเป็น “กองมรดก” และถูกส่งมอบไปยังผู้รับมรดก ซึ่งหากเราได้เขียนพินัยกรรมไว้จะเรียกคนรับมรดกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” แต่ถ้าไม่ได้เขียนไว้ก็จะตกทอดไปยัง “ทายาทโดยธรรม” ซึ่งก็คือญาติๆ ของเรานั่นเอง

ลำดับญาติ ทายาทโดยธรรม

ถ้าเราไม่ทำพินัยกรรมทรัพย์มรดกจะตกไปเป็นของ “ทายาทโดยธรรม” ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท

ประเภทแรก คือ คู่สมรส ซึ่งต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย

ประเภทที่สอง คือ ทายาทที่เป็นญาติของเรา ซึ่งมีอยู่ 6 ลำดับ จึงต้องมา “ลำดับญาติ” กันก่อนว่า ใครบ้างที่จะมีสิทธิได้รับมรดกของเราบ้าง

ทายาทอันดับ 1 คือ ผู้สืบสันดาน ได้แก่ ลูก โดยจะได้ทั้งลูกที่แท้จริง หรือลูกบุญธรรมที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากลูกเสียชีวิตไปก่อนมรดกจะตกไปถึงหลาน เหลน ลื่อ และต่อๆ ไปจนสุดสาย

ทายาทอันดับ 2 คือ พ่อแม่ของเรา โดยต้องเป็นพ่อแม่ที่ให้กำเนิด แต่มีข้อสังเกตว่า ถ้าเป็นพ่อแม่บุญธรรม หรือพ่อที่แม้จะเป็นผู้ให้กำเนิดแต่ไม่ได้รับรองบุตรก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของลูก

ทายาทอันดับ 3 คือ พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน

ทายาทอันดับ 4 คือ พี่น้องคนละพ่อ หรือคนละแม่

ทายาทอันดับ 5 คือ ปู่ ย่า ตา ยาย

ทายาทอันดับ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา

           กรณีที่มีคู่สมรส แต่ไม่มีทายาทอื่นเลย มรดกจะตกเป็นของคู่สมรสทั้งหมด แต่ถ้ามีคู่สมรสและทายาทจะต้องมาดูลำดับญาติประกอบกัน ถึงจะบอกได้ว่า ใครจะได้รับมรดกกันไปจำนวนเท่าไรบ้าง โดยหลักการง่ายๆ คือ “ญาติสนิทตัดสิทธิญาติห่าง” นั่นคือ หากมีญาติในลำดับต้นๆ แล้ว ลำดับถัดไปจะถูกตัดสิทธิออกไปทันที เช่น มีทายาทลำดับ 1 และ 2 แล้ว ทายาทลำดับถัดไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก หรือ ถ้าไม่มีญาติเลย ก็ตกเป็นของหลวง 

           โดยข้อความข้างต้นเรานำมาไขข้องสงสัยให้กับ สมาชิกพันทิปท่านหนึ่ง ซึ่งได้ถามว่า ใช้ชีวิตคนเดียว ถ้าเกิดเป็นอะไรไป ทรัพย์สินหรือหนี้สินที่มี ทางธนาคารจะแจ้งให้ญาติรับรู้ไหมคะ

ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็น[ads]

ธนาคารไม่รู้ ญาติต้องไปแจ้ง

ไม่แจ้ง

             สรุปแล้ว หากมีทรัพย์สินเงินทองได้มาจากการทำมาหากิน เก็บหอมรอมริบไว้จนทรัพย์สมบัตินั้นเพิ่มพูนขึ้นมาก แต่สุดท้ายแล้วกลับไม่รู้จะให้ใครหรือว่าไม่มีใครสืบทอดดูแลทรัพย์สินแทนตนเอง ทรัพย์สินนั้นก็จะตกเป็นของแผ่นดินนั่นเอง ส่วนทางธนาคารญาติอาจจะไม่แจ้งนะคะ เพราะเขาไม่รู้ว่าคุณเสียชีวิต 

           คนเราเกิดว่าไม่มีวันรู้ว่าจะจากโลกนี้ไปตอนไหน ฉะนั้น การทำพินัยกรรมก็มิได้เป็นการลดทอนอายุตัวเองตามความเชื่อแต่อย่างไร แต่เป็นการเตรียมตัวไม่ประมาทในชีวิตมากกว่า รวมทั้งเป็นการดีที่จะมอบทรัพย์สินให้กับคนที่เราไว้ใจที่จะดูแลต่อจากเราได้

ขอขอบคุณที่มาจาก: สมาชิกหมายเลข 1982075