หยุดลอย กระทงอาหารปลา ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

          อย่างที่เคยมีข่าวกันมาก่อนหน้านี้นั้น กรณีขนมกรอบสีสันฉูดฉาดที่ผู้ใจบุญนิยมซื้อกันทีเป็นถุงใหญ่นำไปให้เป็นอาหารปลา จนมีข้อกังวลสงสัยถึงอันตรายและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ล่าสุดก็มีการนำมาทำเป็นกระทงขายกัน ในเทศกาลเช่นนี้มองไปทางไหนก็จะเห็น มากมายหลากสี 

           ล่าสุดอาจารย์ เจษฎา ได้ออกมาชี้แจงเรื่องนี้ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัวว่า  ไม่ควรลอยกระทงอาหารปลาครับ"ไม่รู้ว่าเป็นเพราะกระแสข่าวเรื่องเด็กถูกจับละเมิดลิขสิทธิ์กระทงหรือเปล่า ทำให้ปีนี้กระแสการทำ "กระทงอาหารปลา" กลับมาบูมอีกครั้งแต่กระทงอาหารปลาก็ไม่ต่างกับ "กระทงขนมปัง" ที่ผมเคยพูดไปหลายทีแล้วว่า "ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม" นะครับ

           ทั้งขนมปังและอาหารปลา เมื่อทิ้งลงไปในน้ำแล้ว เป็นสารอินทรีย์ที่จะสลายตัวและละลายค่อนข้างง่าย ซึ่งถ้าแหล่งน้ำนั้น ไม่ได้มีปลาเยอะมาก จนกินหมดเกลี้ยงทุกกระทง ปัญหาจะเกิดขึ้นตามมากับคุณภาพของน้ำบริเวณนั้นโดยเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำจะได้เอาสารอินทรีย์จากกระทงพวกนี้มาเป็นอาหาร และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการดึงออกซิดจนในน้ำไปใช้

           ถ้าทำการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จะเห็นชัดเจนว่าปริมาณของออกซิเจนที่ละลายน้ำหรือค่า DO นั้น จะลดลง ขณะที่ค่า BOD จะสูงขึ้นมาก แสดงให้เห็นถึงการเน่าเสียของน้ำปีที่ผ่านๆ มา ก็มีหลายแหล่งน้ำ โดยเฉพาะในบริเวณที่เป็นสระปิดและจัดงานลอยกระทง เช่น ตามหน่วยราชการต่างๆ พบว่าหลังคืนลอยกระทงไปแล้ว เกิดการเน่าเสียของน้ำ มีปลาขึ้นมาลอยตาย จากการลอยกระทงขนมปังกันเยอะและปลากินไม่หมด สรุปว่า ถ้าไม่จำเป็น ถ้าไม่มั่นใจจริงๆ ว่าบริเวณที่ไปลอยจะมีปลาอยู่เยอะมาก จนกิน "อาหารปลา" หมดทุกกระทงจริงๆ ก็อย่าลอยกระทงแบบนี้เลยครับ

อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

             สรุปว่า ถ้าไม่จำเป็น ถ้าไม่มั่นใจจริงๆ ว่าบริเวณที่ไปลอยจะมีปลาอยู่เยอะมาก จนกิน "อาหารปลา" หมดทุกกระทงจริงๆ ก็อย่าลอยกระทงแบบนี้เลยนะคะ  ทั้งขนมปังและอาหารปลา เมื่อทิ้งลงไปในน้ำแล้ว เป็นสารอินทรีย์ที่จะสลายตัวและละลายค่อนข้างง่าย​ แต่ถ้าปลาไม่เยอะและกินไม่หมดก็เกิดน้ำเน่าเสียได้ 

ขอขอบคุณที่มาจาก: Jessada Denduangboripant