หนุ่มคำนวนค่าใช้จ่าย ข้าวผัดกะเพรา ต้นทุนต่อจานราคาเท่าไหร่

         หลายคนก็คงจะเคยสงสัยว่ากะเพราแต่ละร้านทำไมขายราคาต่างกัน บางที่ขาย 9 บาท 10 บาท ก็ยังขายได้ แต่ทำไมบางร้านถึงขายราคาสูง ล่าสุดมีหนุ่มที่ชอบกินกะเพราได้ คำนวนต้นทุนต่อจานว่าใช้ต้นทุนราคาเท่าไหร่ โดยเขาให้รายละเอียดไว้ดังนี้ 

         เนื่องจากผมเป็นคนชอบกินผัดกะเพรา ก็เลยอยากรู้วต้นทุนว่ากะเพรา 1 จาน มีต้นทุนเท่าไหร่ เพราะบางร้านที่ผมเคยกิน 12 บาท ใช้วัตถุดิบระดับกลาง เขาก็ขายมาเกือบ 20 ปีแล้ว (ร้านในราชบุรี) แต่บางร้านขาย 40 บาท ก็บอกว่ากำไรน้อย จึงเป็นที่มาของโพสต์นี้

         สิ่งแรกเลยที่ผมต้องพิจารณาคือต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งผมเลือกซื้อวัตถุดิบจากโลตัสนะครับ เพราะเขามีราคากลางเดียวกันทั้งประเทศ (มีแตกต่างบ้างตามเกาะ แต่ก็เพิ่มเงินอีกไม่มาก เช่น บนแผ่นดินใหญ่เนื้อไก่ชิ้นกิโลละ 66 บาท บนเกาะจะประมาณ 68-69 บาท)

วัตถุดิบที่ผมเตรียมไว้มีต้นทุนดังนี้ (เน้นเครื่องปรุงแพง)

1. เนื้อไก่ชิ้น 1 กิโลกรัม ราคา 66 บาท

2. พริกแห้ง 1 ขีด ราคา 26 บาท (กิโลละ 260บาท)

3. พริกขี้หนูจินดา 2 ขีด ราคา 36 บาท (กิโลละ 180 บาท)

4. กระเทียมไทย 2 ขีด ราคา 18 บาท (กิโลละ 90 บาท)

5. น้ำตาล 2 ขีด ราคา 5.4 บาท (กิโลละ 27บาท)

6. น้ำปลาแท้เมก้าเชฟ 200ml ราคา 20 บาท (ขวดละ 50 บาท 500ml)

7. น้ำมันหอย 200ml ราคา 8.3 บาท (ขวดละ 144 บาท 600ml)

8. น้ำมันพืชกุ๊ก 100ml ราคา 13.51 บาท (ขวดละ 37 บาท 500ml)

9. ใบกะเพรา 1 ห่อ (โลตัส) ราคา 20 บาท

10. ค่าแก๊ซ ใช้เวลาผัด 13 นาที อัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 0.85 บาท (ถัง 15 กก.)

– รวมต้นทุนเฉพาะตัวกระเพราไก่ชิ้น 1 กิโลกรัม จะเท่ากับต้นทุน 214 บาท

– ผมตักราดข้าวได้ทั้งหมด 34 จาน (ใช้ข้าว 1.6 กก.) ต้นทุน 82.5 บาท

– ต้นทุนข้าว 1 จาน คือ 2.4 บาท

– ต้นทุนกระเพราไก่ 1 คือ 6.29 บาท

– ต้นทุนล้างจาน 34 จาน ประมาณ 2 บาท (ล้างเอง + คำนวณจากน้ำกับน้ำยาล้างจานซันไลท์)

           ดังนั้น ข้าวหอมอย่างดี+ราดกระเพราไก่ชิ้น+ใช้เครื่องปรุงแบบแพง สูตรของผมจึงอยู่ที่จานละ 8.69 บาท (กำไรจานละ 31.31 บาท) ซึ่งตัวเลขต้นทุนจะน้อยลงอีกสำหรับการขายในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากไม่ได้ใช้น้ำปลาแท้ + น้ำมันพืชปี๊บ + ฯลฯ

สรุป

– ถ้าผมขายจานละ 40 บาท จะได้เงินที่ 1360 บาท เมื่อหักทุน 296.5 บาท ผมจะเหลือกำไร 1063.5 บาท (คิดเป็นกำไรคือ 258.68%)

– ถ้าผมขายจานละ 60 บาท จะได้เงินที่ 2040 บาท เมื่อหักทุน 296.5 บาท ผมจะเหลือกำไร 1743.5 บาท (คิดเป็นกำไรคือ 488.03%)

            เมื่อเทียบบัญญัติไตรยางก์แล้ว กำไรต่อกระเพรา 1 กิโล สูงถึง 488.03% ทีนี้ ผมก็เลยมาคำนวณว่า เหตุใดการขายกระเพราจานละ 40 บาท จึงเหลือกำไรน้อย (สำหรับบางร้านค้า) และ เหลือกำไรมากพออยู่ได้ (สำหรับบางร้านค้า) ซึ่งผมก็ไปเจอต้นทุนแฝงตัวหนึ่งที่น่าสนใจ โดยแยกออกเป็นรายละเอียดดังนี้

– ต้นทุนค่าเช่าตึก

– ภาระหนี้สินของเจ้าของร้าน

– ค่าสูตร (ตรงนี้ผมตัดออกเพราะเป็นการบวกมูลค่าเพิ่มในเชิงนามธรรม)

1. หากต้นทุนค่าเช่าตึก1 คูหา (ทำเลดี ติดถนน) ประมาณ 12,000 บาท / เดือน (หรืออาจถูกกว่า) ผมต้องขายกระเพราจานละ 40 บาท จำนวน 383 จาน จึงได้ค่าเช่าที่

         เมื่อคำนวณแบบนี้ จะเห็นได้ว่า ต้นทุนกระเพรา 1 จานที่แพง "ไม่ใช่เพราะวัตถุดิบ" แต่เป็นค่าเช่าที่ (หรือ ตึก หรือ พื้นที่ในห้าง) ที่เป็นตัวการทำให้ต้นทุนค่าครองชีพสูงขึ้น (ซึ่งมูลค่าของพื้นที่ถูกจัดสรรตามความต้องการของเจ้าของที่โดยไม่มีบรรทัดฐานใดชัดเจน) จึงทำให้เงินกำไรที่พ่อค้าควรเหลือ ไหลไปหานายทุนเจ้าของสถานที่เป็นส่วนใหญ่ ภาครัฐควรออกมาตรการควบคุมไม่ให้เจ้าของสถานที่ขึ้นค่าที่ "ตามอำเภอใจ" ก็จะช่วยชาวร้านอาหารตามสั่งได้อีกเป็นจำนวนมาก

2. หัวข้อต่อมาคือ "ภาระหนี้สินของเจ้าของร้าน" มักถูกนำมาบวกเข้าไปในต้นทุนกระเพรา 1 จาน จากภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความต้องการส่งลูกเรียนให้สูง ซื้อรถใหม่ ฯลฯ (ซึ่งตรงนี้ผมเรียกว่า "มูลค่าความพึงพอใจ") ซึ่งเป็นเรื่องของนามธรรม (ว่าง่ายๆก็คือบวกราคารตามใจฉันแล้วมักอ้างว่าวัตถุดิบแพง)   ส่วนต่างที่บวกขึ้นในส่วนนี้ควบคุมไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับความพอใจของการอ้างถึง ฯลฯ

3. ต้นทุนค่าสูตร, ส่วนนี้ควบคุมไม่ได้เหมือนกันเพราะเป็นในเรื่องเชิงนามธรรม

         เมื่อวิเคราะห์ทั้ง 3 หัวข้อแล้ว สิ่งที่ควบคุมได้คือข้อ 1 (ค่าเช่าที่) หากภาครัฐมีหน่วยงานที่ควบคุมการขึ้นราคาค่าที่ได้ ผมคิดว่า วงการกระเพราจะมีสีสรรเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย[ads]

         ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้คำตอบว่า ทำไมบางร้านขายกระเพรา 12 บาท จึงอยู่ได้ (เพราะเขาไม่มีต้นทุนค่าเช่าที่ และ หนี้สิน) ส่วนร้านค้าอีกกลุ่มที่ขายแพงแต่แทบไม่เหลือกำไร (เพราะต้นทุนค่าที่ + ปริมาณความพอใจในผลกำไรที่บวกเพิ่มเข้าไปในค่าอาหาร)   ถูกผิดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ

ทั้งนี้เมื่อโพสต์ออกไปก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็น 

ราคานี้ได้หรอ

           การคำนวนเป็นการคำนวนของบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชมกันด้วยนะคะ เพราะต้นทุนจริงๆแล้ว ก็คงจะรวมปัจจัยหลายๆอย่าง และทำให้ต้นทุนแต่ละร้านไม่เท่ากัน ส่วนต้นทุนถ้าดูจากโพสต์นั้นเรื่องวัตถุดิบก็คงไม่สูงมากนัก แต่อาจจะหนักไปเรื่องต้นทุนในการเช่าที่มากกว่า 

ขอขอบคุณที่มาจาก: เอก ดำเนินเกษม