รวมไอเท็มในอดีต ที่เด็กรุ่นใหม่ อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไร

            ยุคสมัยเปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอะไรก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนทำให้ชีวิตประจำวันของคนเราง่าย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การกิน การเที่ยว การเดินทาง และอื่นๆอีกมากมายวันนี้เราจึงนำ ไอเท็มในอดีต ที่เด็กรุ่นใหม่ อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไรมาฝาก เพราะบางคนเกิดมาก็เห็นเทคโนโลยีกันหมดแล้ว ไปดูกันว่าสมัยก่อนเขา มีไแเท็มเช่นไร

 1. วิทยุติดตามตัว  ก่อนจะมีมือถือที่ใช้กันสะดวกสบายอย่างทุกวันนี้ในสมัยก่อนนั้น การจะติดต่อกันตอนอยู่ข้างนอกเป็นไปได้ยาก สิ่งที่ทำได้คือโทรเข้าบ้านถามคนที่บ้าน นวัตกรรมแรกๆ ที่ใช้ในการติดตามตัวนั่นคือวิทยุติดตามตัวนั่นเอง เจ้าเครื่องเล็กๆ สีดำๆ นี้มีหน้าที่เป็นผู้นำสารจากคนอื่นส่งมาให้เราอ่านผ่านทางข้อความ วิธีการทำงานของมันคือ เราต้องโทรเข้าไปที่ศูนย์ของแต่ละบริษัท (กรณีในภาพคือ Easy Call ก็กด 1500) แจ้งหมายเลยที่ต้องการส่งข้อความ และชื่อผู้ส่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะสนิทกันแค่ไหน แต่ข้อความที่ส่งออกไปจะต้องใช้ภาษาสุภาพ มิเช่นนั้น call center จะไม่ส่งให้นะจ๊ะ ดังนั้นเวลาโกรธเพื่อนก็ต้องปรับภาษาให้สุภาพเข้าไว้ เช่น สวัสดีค่ะคุณสุวรรณมาลี ไม่ทราบว่าจะออกมาจากเคหสถานได้หรือยังคะ? ดิฉันรอจนมดลูกแห้งแล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ"  การจ่ายค่าบริการนั้นจ่ายเป็นรายเดือนค่ะ

2.โทรศัพท์มือถือ  โทรศัพท์มือถือยุคแรกๆนั้น ไม่มีจอสัมผัสเหมือนปัจจุบัน ยิ่งยุคแรกสุดหน้าตาเหมือนกระบอกน้ำและหนักแสนหนักด้วย ยุคถัดๆมาก็จะเป็นดังภาพคือมือถือแบบพับได้ รุ่นที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นน่าจะเป็น NOKIA3210 ที่อึดทน จากภาพจะเห็นได้ว่ามือถือสมัยนั้นแม้จะเป็นแค่จอขาวดำแต่ราคาก็ปาเข้าไปสามสี่หมื่น ซึ่งแพงมากถ้าเทียบกับค่าเงินในสมัยนั้น ต่างจากปัจจุบันที่มีเงินพันนึงก็ซื้อมือถือมาใช้ได้แล้ว

3.Soundabout  เครื่องเล่นเทปติดตามตัวที่เป็นบรรพบุรุษของไอพอดในยุคนี้ สมัยก่อนนั้นเราฟังเพลงกันจากเทป ซึ่งยุคแรกนั้นเครื่องเล่นเทปมีขนาดใหญ่ เราจึงต้องนั่งฟังกันที่บ้าน ต่อมาจึงมีนวัตกรรมที่เรียกว่า soundabout ที่เป็นเครื่องเล่นเทปติดตามตัว ซึ่งวัยรุ่นสมัยนั้นนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ใครใคร่ฟังเพลงอัลบั้มไหนก็พกเทปมาคอยเปลี่ยนในเครื่อง ยุคต่อมาจึงมีการอัดเทปเฉพาะเพลงที่ชอบรวมเป็นอัลบั้มเดียวกันไว้ฟัง

4.เทปคลาสเซท  ต่อเนื่องจากด้านบน เทปคลาสเซทเป็นอุปกรณ์สำหรับบันทึกเสียงไว้ฟัง เป็นยุคต่อเนื่องมาจากแผ่นเสียงที่มีขนาดใหญ่โตพกพาลำบาก เทปจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์นี้ โดยเทปจะมีสองหน้าคือหน้า A และหน้า B บันทึกเพลงได้ที่หน้าละ 5-6 เพลง ถ้าเพลงไหนอยู่กลางๆอัลบั้มก็ซวยหน่อยต้องฟังเพลงอื่นๆไปก่อนถึงจะเปิดเจอ หรือถ้าขี้เกียจฟังก็อาจใช้วิธีกรอเทปได้ แต่การกรอเทปมากๆก็เป็นการทำให้เทปยืดเสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควร จึงเป็นที่มาของการเอาเทปไปแช่ในตู้เย็นเพื่อไม่ให้เทปยานนั่นเอง

5. แผ่นฟลอปปีดิสก์ ที่มาของเจ้าสัญลักษณ์ save บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เด็กรุ่นหลังอาจสงสัยว่ามันคือรูปอะไร? แผ่นฟลอปปีดิสก์หรือที่เรียกกันสั้นๆว่าแผ่นดิสก์นั้นเป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์ในสมัยก่อน ด้วยความจุ 360 KB > 720 KB > 1.44 MB ดังนั้นการจะเก็บข้อมูลสมัยก่อนจำนวนมากเลยต้องใช้แผ่นดิสก์จำนวนมาก บางทีต้องแบ่งเซฟ เพราะความจุไม่พอ เวลาเซฟทีก็จะได้ยินเสียงครืดๆๆๆๆๆ ดังน่ากลัว สมัยต่อมาจึงมีแผ่น CD และ DVD มาแทนที่แผ่นดิสก์

6.ชั่วโมงอินเตอร์เน็ท การต่ออินเตอร์เน็ทบ้านสมัยก่อนจำเป็นต้องซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ทด้วยการต่อโมเด็ม เวลาต่ออินเตอร์เน็ททีก็จะได้ยินเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของมัน 

7.รถไฟฟ้าสายแรกของไทย เมื่อ 20 ปีก่อน การมาของ BTS เป็นสิ่งที่คนกรุงเทพไม่คุ้นเคยอย่างแรง เรายังชินกับการโหนรถเมล์ เดินทางทีละหลายๆชั่วโมง การมาของรถไฟฟ้านั้นจึงเป็นอะไรที่แปลกใหม่ ใหม่จนหลายๆคนไม่เข้าใจและหวาดกลัวด้วยซ้ำไป ว่าการมาของรถไฟฟ้านั้นจะนำมาซึ่งสารพัดมลพิษต่างๆ บางที่อาการหนักถึงขนาดห้ามสร้างบันไดทางขึ้นตรงที่ของตนเองด้วยซ้ำ สมัย BTS เปิดแรกๆ นั้นคนน้อยครับ เพราะสารพัดเหตุผลต่างๆกันไป ทาง BTS ต้องออกสารพัดโปรลดแหลกแจกแถมให้มาใช้บริการดังเช่นบัตรฟรีที่นำมาให้ดูกันนี้

8.ผลเอนทรานซ์   สมัยนั้นการสอบเอนทรานซ์เป็นการสอบเพียงครั้งเดียว โดยเลือกคณะที่ต้องการมากที่สุด 3-5 อันดับ ถ้าคะแนนถึงอันดับที่เราเลือก เราก็จะได้เรียนในคณะนั้น ลดหลั่นกันไป โดยการประกาศผลนั้นจะประกาศผล 2 รอบ โดยส่งจดหมายมาให้ที่บ้าน 3 ฉบับ ฉบับแรกเป็นการแจ้งสถานที่สอบ ฉบับที่สองเป็นการแจ้งผลสอบครั้งแรก กรณีที่มีคนสละสิทธิ์แล้วเราสามารถเปลี่ยนอันดับจะได้รับการแจ้งในจดหมายแจ้งผลสอบรอบสอง หรือกรณีที่ได้อันดับเดิมก็จะได้รับการยืนยันในจดหมายฉบับนี้เช่นกัน การประกาศผลสอบจะประกาศโดยติดป้ายที่มหาวิทยาลัย หลายคนไปลุ้นกันตรงนั้นจะกระโดดดีใจหรือร้องไห้ก็ทำกันตรงนั้นเลย อีกวิธีที่จะทราบคือประกาศผลสอบจากหนังสือพิมพ์วัฏจักร

9.สมุดสะสมสติ๊กเกอร์  หนึ่งในของสะสมสุดคลาสสิคที่เด็กสมัยนั้นต้องรู้จัก มันมาพร้อมกับขนมอบกรอบที่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับทราบว่ารสชาติมันเป็นยังไง (เพราะแกะทิ้งกันซะเยอะ) ในกล่องจะประกอบด้วยขนมและสติ๊กเกอร์แบบสุ่มจำนวน 8 ใบ ด้านหลังมีหมายเลขกำกับเพื่อนำไปติดลงอัลบั้ม (อัลบั้มหาซื้อต่างหากจากร้านค้า) ถ้าสติ๊กเกอร์ซ้ำก็แลกกับเพื่อนซะ ได้เพื่อนใหม่จากการสะสมสติ๊กเกอร์ก็มี และเป็นการให้กำเนิดกิจกรรม "เขี่ยลูกลอก" ด้วย เมื่อสะสมสติ๊กเกอร์ครบอัลบั้มแล้วสามารถนำมาแลกของรางวัลได้ด้วยนะ หลายๆคนโตขึ้นมาแล้วจึงพบว่าเอาตังค์ไปซื้อของที่จะแลกเลยประหยัดกว่ากันเยอะ 555 สมกับเป็นสุดยอดของหลอกเด็กในสมัยนั้นจริงๆ

10.บัตรโทรศัพท์   สมัยก่อนนั้นการจะโทรศัพท์จากข้างนอกจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์สาธารณะและโทรด้วยการหยอดเหรียญ 1 บาทคุยได้ 3 นาที (ถ้าจำไม่ผิดนะ) พอใกล้หมดเวลาจะมีสัญญาณเตือนแล้วตัดไป สร้างความรำคาญให้ผู้ใช้ที่กำลังจีบกันอย่างเมามันเป็นยิ่งนัก อีกอย่างถ้าอยากโทรนานๆก็ต้องไปหาแลกเหรียญมาเตรียมสำหรับโทรด้วย ทางองค์การโทรศัพท์จึงมีการออกบัตรโทรศัพท์มาเพื่อทดแทนการหาแลกเหรียญและอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ โดยบัตรโทรศัพท์นั้นจะเป็นการ์ดแข็งคล้าย ATM ด้านหลังมีแถบสีเงินๆอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปเครื่องจะตัดแถบสีเงินนี้ไปเรื่อยๆ เสียงดัง ตึ๊ก ตึ๊ก ตึ๊ก บัตรโทรศัพท์มีหลากหลายราคาและมีภาพให้สะสมอีกด้วย

11.วีดีโอเกม  สุดยอดงานอดิเรกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของเด็กผู้ชาย (รวมถึงเด็กวัยโข่งด้วย) คงหนีไม่พ้นการเล่นวีดีโอเกม ยิ่งเล่นกับเพื่อนยิ่งมันสุดๆ ก่อนที่จะมี Playstation หรือเกมออนไลน์ในปัจจุบันนี้ สมัยก่อนเราต้องซื้อเครื่อง Family Computer ที่ใครมีสมัยนั้นถือว่าเท่สุดๆ วิธีการก็คล้ายๆปัจจุบันคือต่อเครื่องเข้ากับโทรทัศน์ หาตลับเกมมาเสียบแล้วเริ่มเล่นเกม ตลับเกมในสมัยก่อนนั้นจะมีความจุต่างกัน เรียกว่า K ถ้าจะเอาเกมไปแลกที่ร้านต้องเป็นเกมที่ K เท่ากันถึงจะแลกได้ เกมดังๆ K สูงๆ ราคาก็จะแพงขึ้นไปเรื่อยๆ

12.หน้าโฆษณาหนังในหนังสือพิมพ์   สมัยก่อนที่ยังไม่มีอินเตอร์เน็ท เราจะทราบโปรแกรมการฉายหนังหลักๆก็จากหนังสือพิมพ์นี่ล่ะ โดยฉบับที่ลงเป็นหลักคือไทยรัฐ รองลงมาคือเดลินิวส์ รวมถึงภาษาอังกฤษใน Bangkok Post และ The Nation ด้วย ดังนั้นสมัยนั้นค่ายหนังจึงต้องตบตีแย่งชิงเนื้อที่ในหน้านั้นเพื่อให้ตัวเองได้เนื้อที่ใหญ่ที่สุด เพราะถ้าได้เนื้อที่ใหญ่คนอ่านจะเข้าใจว่านั่นคือหนังใหญ่และตามไปดูหนังเรื่องนั้น (เป็นแบบนี้จริงๆนะ) โรงหนังสมัยนั้นก็มีไม่มากนัก ดังนั้นจึงใส่ชื่อโรงที่จะเข้าฉายไปเลย คนอ่านก็จะทราบว่าสัปดาห์นี้มีอะไรฉายที่ไหนบ้าง ปัจจุบันโฆษณาหนังในหนังสือพิมพ์นั้นได้สูญพันธุ์ไปอย่างถาวรแล้ว

13.แดนเนรมิต   ถ้าใครนั่งรถไฟฟ้าผ่านสถานีลาดพร้าวไปทางรัชโยธินจะสังเกตเห็นปราสาทเก่าแก่ตั้งอยู่บนลานแข่งรถเยื้องๆเซ็นทรัลลาดพร้าว ที่แห่งนี้ในอดีตเคยเป็นสวนสนุกที่โด่งดังมากที่สุดของเมืองไทยนั่นคือ แดนเนรมิต ปราสาทเทพนิยายเป็นไอคอนของแดนเนรมิตเลย ด้านในมีเจ้าหญิงนิทราที่หายใจอยู่ด้วยนะ แดนเนรมิตเป็นสวนสนุกที่มีเครื่องเล่นมากมาย เด็กสมัยนั้นต้องมาให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่น่าเสียดายที่ต้องปิดตัวลงเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เพราะหมดสัญญาเช่าที่ เจ้าของเดิมจึงเปิดสวนสนุกดรีมเวิลด์ขึ้นมาแทน และนำเครื่องเล่นบางส่วนไปไว้ที่นั่น (หนึ่งในนั้นคือเรือไวกิงส์ นั่นเอง)

14.ละคร  ละครในสมัยก่อนมีอิทธิพลมาก เพราะยังไม่มีอินเตอร์เน็ท การดูย้อนหลังนั้นมีวิธีเดียวคือต้องอัดวีดีโอเอา ดังนั้นถ้าละครดังๆเรื่องไหนถึงตอนอวสาน ท้องถนนจะเงียบกริบ ทุกคนจะตั้งหน้าตั้งตารออยู่ที่หน้าจอโทรทัศน์เพื่อดูตอนจบของละคร ดังนั้นละครสมัยก่อนจึงดังมาก อย่าง คู่กรรม (เบิร์ด-กวาง), ทองเนื้อเก้า (อภิรดี), ริษยา (ดวงดาว), สี่แผ่นดิน ฯลฯ ส่วนในภาพคือเทปเพลงประกอบละครสมัยนั้น เพราะทุกเพล

       เป็นไงบ้างค่ะสำหรับน้องๆหลายคนอาจจะยังเกิดไม่ทันด้วยซ้ำบ่เห็นไปเท็มในสมัยก่อนนั้นบอกเลยว่าสมัยนี้สะดวกสบายกว่าเยอะ แต่ก็มีความเท่ห์ และความกระตือรือร้นที่จะสิ่งเล่านี้  ไอเท็มใยสมัยก่อนกับสมัยนี้แต่งกันอย่างเห็นได้ชัด นี่ก้เป็นไอเท็มที่นำมาให้ดูเบื้องต้นเท่านั้นยังมีอีกเยอะนะคะ 

ขอขอบคุณที่มาจาก: Patsy+