ประสบการณ์ สอบใบประกอบวิชาชีพครูครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์

       รีวิวการสอบวิชาชีพครู เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องสอบในรอบต่อไป ซึ่งมีการสอบใน 5 วิชา (ผู้ที่จะเข้าสอบน่าจะทราบอยู่แล้ว) ผู้จะเข้าสอบได้ต้องเรียนในหลักสูตรปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางการศึกษา ที่คุรุสภารับรอง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มี 60 ข้อ ข้อสอบคล้ายๆ ข้อสอบวิชาภาษาไทย วิชาสามัญ ของนักเรียนม.6 ที่เอามารวมกับ O-NET ภาษาไทยของ ม.6 ออกเฉพาะด้าน การฟัง พูด อ่าน เขียน สำหรับผู้จะเตรียมสอบหาข้อสอบเก่า ๆ มาทำได้เลย แนวแทบจะลอกกันมา (โดยเฉพาะวิชาสามัญ) ส่วนตัวทำข้อสอบนี้ได้สบายๆ เพราะเคยสอบวิชาสามัญมาแล้วหลายรอบ 5555

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ข้อสอบแบ่งเป็น 2 ส่วนง่าย ข้อ 1-30 และข้อยาก 31-60 ออกด้าน การฟัง พูด อ่าน และเขียน ข้อ 1-30 จะไม่ยากมาก แนวคล้ายๆ ข้อสอบ Conversation O-NET ป.6 และ ม.3 ส่วนข้อที่ 31-60 จะเป็น Reading ประมาณ O-NET ม.3และม.6 แต่ศัพท์จะมีหลากหลายขึ้น

เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ข้อสอบ 60 ข้อ ค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานด้านเทคโนโลยีน้อย ข้อสอบจะออกคล้าย ๆ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทคของนักเรียนม.ปลาย ที่ต้องรู้ตั้งแต่ระบบ เครือข่าย ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ ขนาดความเร็ว ขนาดไฟล์ ฯลฯ และเพิ่มมาคือ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และเทคโลโลยีสมัยใหม่ ข้อสอบเหมือนจะออกตาม หลักสูตร Digital Literacy (ความเข้าใจดิจิทัล) ที่ ม.มหิดล กับกระทรวง DE สำหรับคนที่จะสอบต่อไป แนะนำให้เรียน E-Learning ของ สำนักงาน กพ https://www.ocsc.go.th/e-learning เพราะมีเรื่องนี้ไว้ด้วย หรือจะอ่านเอกสารอบรม และเรียนออนไลน์ หลักสูตรความเข้าใจดิจิทัลของ DE ด้วยก็ได้จะยิ่งดี http://e-learnning.guest.in.th/…/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0…

วิชาชีพครู ปรนัย 120 ข้อ อัตนัย 2 ข้อใหญ่ ปรนัยโจทย์จะยาว ๆ เน้นการวิเคราะห์ส่วนอัตนัย จะออกเกี่ยวกับ การจัดทำแผนการสอน และการวิจัยชั้นเรียน ซึ่งข้อสอบนี่ก็ไม่ค่อยจะอัตนัยเท่าไหร่ เป็นต้นว่ากำหนดวิชามา และระดับมา ให้ตอบรหัสวิชาให้ถูกต้องตามหลักการของหลักสูตร หรือไม่ก็ถามว่าเป็นวิจัยประเภทใด ใช้สถิติอะไรบ้าง หาค่า IOC ได้เท่าไหร่ จุดประสงค์ที่ขาดคืออะไร วิธีการแบบไหนที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ฯลฯ เดี๋ยวใกล้สอบจะนำมาแชร์ให้ส่วนตัวจำอัตนัยได้อยู่

วิชาเอก ส่วนตัวสอบเอกสังคม 120 ข้อ ต้องบอกเลยว่า ยากมาก ไม่รู้ว่าไปขุดข้อสอบมาจากขุมไหน ยากกว่าสอบบรรจุครูอีก 5555 เห็นใจครูคนที่ไม่ได้จบด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศาสนา มาก

ประวัติศาสตร์ จะออกเกี่ยวกับการวิเคราะห์ แต่ความชิปพายย ของข้อสอบพาร์ทนี้ก็คือ ไม่มีการระบุเวลาหรือศักราชที่แน่ชัด ไม่บอกขอบเขตของพื้นที่ทั้ง ไม่บอกหลักฐานสนับสนุน คนสอบต้องใช้องค์ความรู้ประมวลทั้งหมดมาตอบ ซึ่งมันยากมากในทางการวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ที่ให้มา่ตอบเป็น ปรนัย เพราะนักปวศ แต่ละคนก็มีความเห็นที่แตกต่างกันได้[ads]

ศาสนา ไม่ยากมาก คล้ายๆ ข้อสอบ O-NET ม.6 แต่มีบางข้อที่ยาก อย่างที่เป็นศาสนาเปรียบเทียบ และก็หลักของศาสนาอิสลาม

หน้าที่พลเมือง ข้อสอบนี้ไม่ยากสำหรับใครที่เรียนรัฐศาสตร์มา จะถามเกี่ยวกับรัฐสมมติ ว่ามีอำนาจแบบนี้ มีองค์การแบบนี้ มีประมุข หรือรัฐฏาธิปัตย์แบบนี้ การใช้อำนาจเป็นแบบไหน ใครมีอำนาจสูงสุด การออกกฎหมายต่าง ๆ เป็นอย่างไร

เศรษฐศาสตร์ ข้อสอบจะออกเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และหลักอุปสงค์คือุปทาน ที่แฝงมาในข้อสอบช้อย์ยาวๆให้วิเคราะห์

ภูมิศาสตร์ จะออกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กายภาพของประเทศไทย และต่างประเทศที่สำคัญๆ ถามดินฟ้าอากาศ ถามเกี่ยวกับหินภูเขาไฟ ซึ่งถามแบบเป็นข้อสอบวิเคราะห์ ไม่ีใช่ความจำ ประมาณว่า ต่ออให้รู้ชื่อหิน ก็ต้องรู้สีหิน การเกิดหิน บริเวณที่พบหิน และออกเกี่ยวกับปรากฎการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของโลก สนธิสัญญาด้านสิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

วัฒนธรรม จะของเกี่ยวกับ Eco-Culure และการจัดการวัฒนธรรม ส่วนตัวเคยสอบนักวิชาการวัฒนธรรมมาเลย พอคุ้นๆข้อสอบแนวนี้อยู่บ้าง   สำหรับใครอยากรู้ว่าแนวข้อสอบสังคมเป็นอย่างไร สามารถเลื่อนดูได้ที่นี่https://www.facebook.com/tobeateacherTHโดยรวมข้อสอบวิชาเอกคือ ยากชิปพายยยย ทั้งประเทศผ่าน 76 คน น้ำตาไหลลลลลล

          เป็นประสบการณ์ที่ดีเลยทีเดียวจ้า เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องสอบในรอบต่อไป และหวังว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับท่าน ยังไงก็ขอเป็นกำลงใจให้กับทุกท่านที่มาสายนี้ ความพยามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น 

ขอขอบคุณที่มาจาก: Conquista De N. Sukhapracham