ถังเก็บน้ำยักษ์ ทำจากไม้ไผ่สาน ฉาบปูน ภูมิปัญญาชาวบ้าน

          ถังเก็บน้ำยักษ์ ทำจากไม้ไผ่สาน ฉาบปูน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านล่าสุดชาวจุฬา CU14 สนับสนุนทุนสร้างที่ ม่อนจานบิน เชียงใหม่ ทำสถิติใหม่จุน้ำได้กว่า 200 คิวบิคเมตร แทนแท็งก์น้ำเหล็กได้ 200 ใบ  ด้วยขนาด 10 เมตร ความลึกของถัง 3.20 เมตร

ปรับพื้นที่ให้เรียบ​ให้ได้ระดับในแนวราบ​ กำหนดขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง​ด้วยการหาจุดศูนย์กลางของแท้งค์

เมื่อได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแล้ว​ จึงขุดเอาดินด้านในของแท้งค์ออก​ เพื่อให้ฐานของแท้งค์อยู่ลึกลงไปประมาณ1.5 ม.

ปรับระดับของพื้นให้ได้ระนาบ180องศา​ ปรับระดับของผนังให้ตั้งฉากกับพื้น

ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างภายในแทนเหล็กเสริมคอนกรีต​ แล้วจึงเทปูนซีเมนต์โครงสร้าง

เมื่อเทคานคอดินแล้ว​ ก็ทำการสานไม้ไผ่เป็นตัวเสริมคอนกรีตที่พื้น

ชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกันทำไม้ไผ่

เมื่อสานไม้ไผ่สูงขึ้น​ ประมาณ​ 1 ม.ให้ทำการฉาบปูนซีเมนต์ที่ไม้ไผ่​ ให้หนาประมาณ​ ๓​ซม.​ เพื่อที่เพื่อที่จะเป็นแบบสำหรับจะเทปูนซีเมนต์ลงไปเป็นผนังของแท้งค์[ads]

เมื่อฉาบปูนซีเมนต์แห้งได้ที่แล้วให้เทกรอกปูนซีเมนต์โครงสร้างลงไปในช่อง​ ระหว่างดินกับผนังไม้ไผ่​ กระทุ้งเสียบ​น้ำปูน​ อย่าให้มีช่องว่าง

สำเร็จตามใจหวัง ขนาดใหญ่มาก เกิดจากความร่วมมือของชาวบ้าน

การทำระบบน้ำเข้าไปเก็บในแท้งค์ยักษ์สามารถนำเข้าด้านบนได้เลย​ แต่ระบบน้ำออกเพื่อนำออกไปใช้นั้น​ ขอแนะนำให้ทำท่อน้ำออกอยู่เหนือพื้นของแท้งค์ประมาณ​ ๑ฟุต​ โดยการวางท่อPVCขนาดที่เห็นสมควรผ่านทะลุผนัง​ เพื่อจ่ายน้ำออกไป

          การเก็บน้ำด้วยแท้งค์ขนาดใหญ่ที่ชาวบ้านสามารถทำได้เอง​ โดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบการก่อสร้างเชิงธุรกิจนี้ ปรากฏขึ้นครั้งแรกที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติชุมชนต้นน้ำน่าน​(ชตน.)​ ผู้ที่คิดค้นวิธีทำแท้งค์นี้คือ​ อาจารย์ยักษ์​ เราจึงเรียกกันว่า​ "แท้งค์ยักษ์"

ขอขอบคุณที่มาจาก: Ta Sithiporn