จากกรณีที่มีสื่อข่าวนอก ระบุผลการวิจัยว่า โรคโควิด อาจจะมาจากตลาดนัดจตุจักร ไม่ใช่ตลาดค้าขายสัตว์ในอู่ฮั่น ประเทศจีน เนื่องจากตลาดแห่งนี้มีการค้าขายสัตว์หลากหลาย เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อมาก ทำให้คนไทยที่ได้รับข่าวล้วนไม่พอใจ และตั้งข้อสังเกตว่า หากไทยเป็นแหล่งแพร่เชื้อจริง ทำไมคนไทยไม่ติดเชื้อเป็นที่แรก
ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ 2564 ไทยโพสต์ รายงานว่า นพ.เฉวตสรร นามวาท รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงถึงกรณีดังกล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่สนับสนุนว่าเชื้อติดต่อจากค้างคาวไปสู่คน และยังไม่พบการจำหน่ายค้างคาวในตลาดนัดสวนจตุจักรแต่อย่างใด
ส่วนประเด็นการวิจัยเรื่อง โรคจากค้างคาว ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบว่า ค้างคาวมงกุฎที่อยู่ในถ้ำเป็นแหล่งไวรัสหลายชนิด มีรหัสพันธุ์กรรมคล้ายโคโรนาไวรัส ร้อยละ 91.5 แต่ไม่สามารถติดต่อไปสู่คน[ads]
อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานได้มีโครงการป้องกันการแพร่ระบาดจากสัตว์ไปสู่คนอย่างเต็มที่ และมีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อในสัตว์ทุกกลุ่มที่อยู่ในตลาดนัดสวนจตุจักร ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2563 พบว่า เป็นเชื้อคนละสายพันธุ์กับโควิด-19

สบายใจได้นะคะ เพราะทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงเรื่องวิจัยสื่อนอกบ่งชี้โควิด 19 อาจมีต้นตอจากตลาดจตุจักร แต่ทั้งนี้ยังไม่มีวิจัยที่บ่งชี้ว่าติดจากค้างคาวไปสู่คน แถมตลาดของไทยไม่มีการขายค้างคาวด้วย
ขอขอบคุณที่มาจาก: ไทยโพสต์