หลังจากที่มีการแชร์ภาพแผ่นกั้นน้ำในญี่ปุ่นที่ถูกซ่อนเอาไว้ทั่วเมือง เพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม หรือเวลาเกิดอุทกภัย หรือน้ำท่วมให้กับรถไฟฟ้าใต้ดิน และห้างสรรพสินค้าต่างๆซึ่งหลายคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งมีดราม่าว่าทำไมประเทศไทยเราไม่มี ซึ่งล่าสุดทางเพจ BKKTrains ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้ว่า
ช่วง ไขปัญหาดราม่า หลังจากพายุฮากีบิส พัดผ่านประเทศญี่ปุ่นไป ประเทศญี่ปุ่นฟื้นตัวได้รวดเร็ว เพราะมีมาตรการรองรับที่ดี เนื่องจากเขาเจอภัยพิบัติบ่อย จึงมีคู่มือ มีแนวปฏิบัติ เพื่อป้องกันความเสียหายหรือลดความเสียหายจากเหตุภัยพิบัติที่เขาต้องเจอ
แต่เมื่อไปส่องคอมเม้นต์ตามโพสในเพจต่างๆ ยังมีคนไทยบางส่วนยังไม่ทราบว่าในประเทศไทย ก็มีมาตรการป้องกันภัยพิบัติในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อยู่แล้ว รวมถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย วันนี้เลยอยากจะขอมา #บอกเล่า ว่า เรื่องเข้าใจผิดต่างๆ ความจริงมันเป็นอย่างไรนะครับ
เรื่องแรก เรื่องอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม แหมมม บางคนก็เม้นท์เอาสนุกเลยนะครับ ว่าบ้านเราไม่มี แค่เห็นรูป Flood Board แบบอัตโนมัติในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของประเทศญี่ปุ่น ที่แชร์กันในโลกโซเชียล ก็มาหาว่าของบ้านเราไม่มีเสียอย่างนั้น
ความจริง รถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทย มีการออกแบบเพื่อป้องกันความเสียหายจากเหตุอุทกภัยไว้เรียบร้อยแล้ว หากเกิดเหตุน้ำท่วม น้ำไม่เข้าสถานีอย่างแน่นอน โดยการออกแบบเพื่อป้องกันน้ำท่วมสถานี จะมีการออกแบบไว้ 2 ขั้น
ขั้นแรกเลย ที่ทางเข้าสถานีใต้ดินทุกสถานี คุณผู้อ่านอาจจะเห็นว่าเป็นบันไดขึ้นไปสูงพอสมควร ก่อนที่จะเจอบันไดเลื่อนลงไปยังสถานีด้านล่าง ขั้นบันไดที่เห็นนั่นแหละครับ เขาออกแบบให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดใน กทม. บันทึกย้อนหลังไป 200 ปี และยังเผื่อไว้ให้สูงกว่าอีก 1 เมตร ดังนั้น ต่อให้น้ำมาขนาดไหน ยังไง๊ ยังไง ก็ไม่ท่วมเข้าไปภายในสถานีอย่างแน่นอน
แต่ถ้าหากน้ำมาเยอะกว่าที่คาดการณ์ไว้ ที่บริเวณซุ้มทางเข้าสถานี ตรงที่ติดประตูบานเหล็กม้วน หรือ Roller Shutter จะมีจุดติดตั้ง Flood Board หรือ Stop Log เพื่อป้องกันน้ำท่วม ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประเมินแล้วว่า ระดับน้ำอาจจะสูงกว่าระดับน้ำสูงสุดที่เคยบันทึกไว้ จะดำเนินการติดตั้ง Flood Board ที่ทางเข้าเพิ่มเติมครับผม
และนับตั้งแต่เปิดให้บริการมา ตัว Flood Board เคยมีการติดตั้งเพื่อใช้งานจริงเพียงครั้งเดียว ในช่วงปลายปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางครับ แต่ระดับน้ำที่ท่วมในเขตที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินตั้งอยู่ ก็ยังมีระดับไม่สูงเกินกว่าขั้นบันไดครับผม
สำหรับการฝึกซ้อมการติดตั้ง Flood Board เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำครับ ดังนั้นไม่ต้องห่วงครับ หากเกิดเหตุการณ์ในประเทศไทยขึ้นมา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตั้ง Flood Board เพื่อป้องกันน้ำท่วมได้อย่างแน่นอนครับ

สำหรับการฝึกซ้อมการติดตั้ง Flood Board เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำครับ ดังนั้นไม่ต้องห่วงครับ หากเกิดเหตุการณ์ในประเทศไทยขึ้นมา เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สามารถติดตั้ง Flood Board เพื่อป้องกันน้ำท่วมได้อย่างแน่นอนครับ
เรื่องต่อมา จากภาพรถไฟ Shinkansen รุ่น E7/W7 จมน้ำ ใน Depot ที่จังหวัด Nagano รายละเอียดทางเพจเราขอไม่พูดถึงนะครับ ซึ่งทางญี่ปุ่นคงมีวิธีดำเนินการกับรถไฟเหล่านั้นต่อไป อาจจะซ่อมแซม หรือปลดระวาง หากปลดระวาง เขาก็อาจจะดำเนินการ Scrap มันทิ้ง หรือบริจาคให้ สถาบันการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา หรือเอาไปตั้งโชว์ในพิพิธภัณฑ์ หรือเอาไปทำอะไรก็ตามแต่ ต้องติดตามดูกันต่อไปครับ
แต่ที่ทีมงานเพจเรา และเพื่อนแอดมินอีกหลายๆ เพจ ไปเจอมา คือบอกให้ขายให้ประเทศไทยเป็นของมือสอง เนื่องจาก “ประเทศไทยซื้อรถไฟมือสองมาใช้เป็นประจำ” อันนี้อยากจะขอแก้ข่าวนะครับ
ในประเทศไทย มีการนำรถไฟมือสองจากญี่ปุ่นมาใช้งานก็จริง แต่เป็นส่วนน้อยมาก และที่นำเข้ามาจะเป็นรถไฟของ รฟท. ที่ใช้ในวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น รถไฟจัดเฉพาะ VIP ที่ดัดแปลงมาจากรถไฟ Blue Trains ของ JR West หรือรถไฟตู้นอนบางตู้เท่านั้น
แต่รถไฟฟ้าในประเทศไทยทั้งหมด ทุกสายทุกระบบนั้น เป็น “รถไฟมือหนึ่ง” ประกอบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดครับ ไม่มีการซื้อ “รถไฟฟ้ามือสอง” จากประเทศอื่นๆ มาใช้งานแต่อย่างใดครับ
อย่างภาพประกอบในโพสนี้ เป็นภาพการประกอบรถไฟฟ้า BTS Siemens-Bozankaya EMU ในโรงงานของบริษัท Bozankaya เมือง Ankara ประเทศตุรกีครับ
ต่อไปนี้ใครบอกว่า รถไฟฟ้าใต้ดินของไทยไม่มีระบบป้องกันน้ำท่วม เพราะไม่มี Flood Board แบบออโต้เหมือนญี่ปุ่น หรือ รถไฟฟ้าในเมืองไทยใช้รถไฟมือสองจากเมืองนอก เราจะเรียกพวกไปช่วยกัน "ตีมือ" คนเม้นท์เลย
ขอขอบคุณที่มาจาก : BKKTrains