แจ้งเกิดลูกไม่ระบุชื่อพ่อได้ไหม อนาคตจะมีปัญหาหรือป่าว

              สำหรับคุณแม่หลายๆท่านที่เจอปัญหาทางครอบครัว หรือหย่าล้างกันก่อนที่ลูกจะคลอดกังวลว่าจะทำอย่างไรเมื่อลูกคลอดออกมา โดยเฉพาะการ แจ้งเกิดลูก ไม่มีพ่อ ไม่ระบุชื่อพ่อในสูติบัตรได้หรือไม่ และจะมีปัญหาในอนาคตหรือไม่วันนี้เราจะพาไปไขข้อสงสัย กับเรื่องนี้

              การเกิดเป็นจุดเริ่มต้นของสภาพบุคคล และเป็นจุดเริ่มต้นที่กฎหมายเข้ามามีบทบาท เมื่อลูกคลอดออกจากท้องแม่แล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย นั่นก็คือการแจ้งเกิดนั่นเอง โดยการแจ้งเกิดนั้น มีขั้นตอนต่อไปนี้

-ผู้ที่ทำคลอดจะต้องออกหนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑) ให้ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำไปใช้ในการแจ้งเกิดที่เทศบาล สำนักงานเขต หรือ อำเภอ (ในกรณีที่เกิดในสถานพยาบาล)

-ถ้าเกิดที่บ้าน เช่น บ้านพ่อแม่ ถ้าอยู่ในเขตท้องที่ของที่ว่าการอำเภอ ให้แจ้งผู้ใหญ่บ้านประจำหมู่บ้านที่เด็กเกิด ผู้ใหญ่บ้านจะต้องรับแจ้ง และออกเอกสารเป็นใบรับแจ้งการเกิด (ท.ร ๑ ตอนหน้า) ให้ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน

-เมื่อได้รับหนังสือรับรองการเกิดแล้ว ให้เตรียมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เพื่อไปประกอบ ดังนี้
-บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ไปแจ้ง
-หนังสือรับรองการเกิด (ท.ร.๑/๑ หรือ ท.ร. ๑ ตอนหน้า)
-และสำเนาทะเบียนบ้านที่จะเพิ่มชื่อลูกน้อยเข้าไป

-เมื่อรวบรวมเอกสารมาครบแล้ว ให้เจ้าบ้าน คุณพ่อ หรือคุณแม่ นำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาแจ้งต่อนายอำเภอ ที่ว่าการอำเภอ หรือ เทศบาล หรือเขต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ออกใบสูติบัตรให้

-ระยะเวลาในการแจ้งเกิด ภายในเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ลูกน้อยเกิด

-สถานที่แจ้งเกิด ถ้าสถานที่ที่ลูกน้อยเกิดตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ให้แจ้งเกิดที่เขตนั้น แต่ถ้าอยู่นอกเขต ให้ไปแจ้งเกิดที่สำนักทะเบียนที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่นั้น

           แจ้งเกิดลูกไม่มีพ่อไม่ระบุชื่อพ่อทำได้ไหม  แจ้งเกิดอย่างไร หากท้องไม่มีพ่อ ต้องระบุชื่อผู้ชายในใบเกิดไหม ก่อนอื่นคุณแม่ต้องทราบก่อนว่า ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ถือว่าลูกที่เกิดมาเป็นสิทธิของแม่โดยชอบธรรม คุณแม่สามารถเลือกที่จะระบุชื่อบิดาลงในใบเกิด หรือไม่ระบุก็ได้

-คุณแม่สามารถระบุได้ว่า ไม่ปรากฏบิดา โดยระบุชื่อมารดาเพียงคนเดียว

-การไม่ระบุชื่อบิดา คุณแม่มีสิทธิในตัวลูก 100% มีอำนาจในการปกครองเด็กแต่เพียงผู้เดียว

-การไม่ระบุชื่อบิดาในใบเกิดจะไม่ปัญหาในการทำเอกสารใด ๆ ของลูกเมื่อโตขึ้น ไม่ว่า การเข้าเรียน การทำงาน การรับราชการ หรือการเป็นทหาร

-หากต้องการเพิ่มชื่อพ่อในสูติบัตรในภายหลัง ต้องระบุชื่อพ่อจริงๆ เท่านั้น ไม่สามารถระบุชื่อคนอื่นได้ ต้องมีหลักฐานการตรวจ DNA แสดงความเป็นพ่อ แม่ และลูก แนบไปกับคำขอเพิ่มชื่อในสูติบัตร โดยเขตจะพิมพ์สูติบัตรใบใหม่ที่มีชื่อบิดาด้วย

             หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่คุณแม่หลายท่านนะคะ และก่อนอื่นคุณแม่ต้องทราบก่อนว่า ในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ถือว่าลูกที่เกิดมาเป็นสิทธิของแม่โดยชอบธรรม คุณแม่สามารถเลือกที่จะระบุชื่อบิดาลงในใบเกิด หรือไม่ระบุก็ได้ และถ้าไม่ระบุสิทธิ์นั้นจะเป็นของแม่เพียงผู้เดียว พ่อไม่มีสิทธิ์ 

เรียบเรียงโดย: tkvariety