เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา มีการตัดสินการประกวดเรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และทางสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยฯ ได้ประกาศลงเฟซบุ๊กทั้งหมด 13 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ, รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1, รางวัลรองชนะอันดับ 2 และรางวัลชมเชย 10 รางวัล
ต่อมาเกิดการดราม่า รางวัลชนะเลิศเป็นภาพในน้ำมีปลาในนามีข้าว ชาวเน็ตวิจารณ์สนั่นใช้ภาพตัดต่อ ผิดกติกาหรือไม่ ชี้มีน้ำหลากและปลาในฤดูเกี่ยวข้าว ขัดกับความเป็นจริงสุด ๆ เนื่องจากคือ หัวข้อ "จะไม่มีใครต้องหิวโหย" โดยมุ่งเน้นภาพถ่ายที่นำเสนอแนวคิด แนวทาง กระบวนการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมองว่าเป็นการตัดต่อภาพที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง เนื่องจากปลาสอดเป็นปลาเลี้ยงสวยงาม ไม่ควรเป็นอยู่ในนา ส่วนภาพที่ชาวนากำลังเกี่ยวข้าวนั้น แสดงว่าเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ท้องนาจะมีน้ำหลาก และมีปลาในช่วงเกี่ยวข้าว แต่หากเป็นภาพนาสีเขียวขจีจะสมเหตุสมผลมากกว่า จึงไม่สมกับที่ได้รางวัลชนะเลิศ อีกทั้งมีรางวัลอื่น ๆ เช่นรางวัลชมเชย ที่ตีโจทย์เรื่องนี้ออกมาเหมือนกัน คือสื่อถึงทุ่งนาและชาวนา แต่เป็นภาพถ่ายจริง ๆ ของชาวนาที่กำลังทำไร่ไถนา ให้ความเสมือนจริงมากกว่าและไม่ใช่การตัดต่อ หรือกระทั่งภาพของชาวนาที่นั่งอยู่เถียงนากับลูกหลาน สะท้อนวิถีชีวิตเรียบง่ายอย่างไทย
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
ภาพประกวดไม่ใช่ภาพตัดต่อ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : หรรษา ตั้งมั่นภูวดล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : เฉลิม อัชชมานะ

รางวัลชมเชย : แสงชัย เตชะสถาพร
รางวัลชมเชย : พิชญวัฒน์ ปรุงศักดิ์

รางวัลชมเชย : เสกสรร เสาวรส
รางวัลชมเชย : อาหามะ สารีมา[ads]
รางวัลชมเชย : ชนินทร์ แซ่ฟุ้ง
รางวัลชมเชย : ธรรมรัตน์ สวัสดิชัย
รางวัลชมเชย : ประสบชัย จันดก
รางวัลชมเชย : คีรีขันธ์ ไชยพร
รางวัลชมเชย : หรรษา ตั้งมั่นภูวดล
รางวัลชมเชย : พลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์
ผลการประกวด
ขณะที่อีกมุมหนึ่งมองว่า ภาพที่ได้รางวัลชนะเริส มีจุดเด่นของภาพนี้คือ เป็นภาพที่มองปุ๊บก็สื่อความหมายทันทีว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว โดยไม่ต้องตีความหมายซับซ้อน ศิลปะไม่มีอะไรถูกอะไรผิด แต่ทั้งนี้ก็มีกติกาไว้แน่ชัด ว่าภาพถ่าย ไม่ใช่ภาพตัดต่อ
ขอขอบคุณที่มาจาก: The Royal Photographic Society of Thailand (RPST)