แค่เดือนเดียวรงงานปิดกิจการ 222 แห่งตกงานกว่า2.5พันคน

           วันนี้ (10 ก.พ.63) กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) รายงานถึงตัวเลขขอใบอนุญาตประกอบกิจการ (ร.ง.4) และขยายกิจการเดือนมกราคม 2563 พบว่า มีจำนวนโรงงาน ทั้งสิ้น 313 โรงงาน ลดลง 13.29% จากช่วงเดียวกันในปี 2562 ขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 2.53 หมื่นล้านบาท ลดลง 51.52% โดยสาเหตุที่จำนวนโรงงานที่ลดลง เนื่องจากพ.ร.บ.โรงงาน 2562 เพิ่งบังคับใช้ปลายเดือนตุลาคม 2562 ซึ่งสาระหลักของพ.ร.บ.โรงงานที่มีขนาดเล็กมาก ต่ำกว่า 50 แรงม้า แรงงานไม่ถึง 50 คนไม่ต้องมาขอร.ง.4

           ทิศทางการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี พบว่าเพิ่มขึ้น แสดง ให้เห็นว่านักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นตอบรับนโยบายรัฐบาล โดยการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอสเคิร์ฟ) เดือนมกราคมมีการขอการขอใบอนุญาตประกอบกิจการ ร.ง.4 และขยายกิจการ จำนวน 98 โรงงาน เพิ่มขึ้น 988.88% แต่มูลค่าการลงทุน 1.04 หมื่นล้านบาท ลดลง 21.21%

           ขณะที่ การลงทุนในพื้นที่ อีอีซี มีจำนวน 45 โรงงาน เพิ่มขึ้น 25% มูลค่าการลงทุน 1.61 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 199.77% ส่วนการยื่นขอปิดกิจการ มีจำนวน 222 โรงงาน เพิ่มขึ้น 53.10% มูลค่าการลงทุน 2.29 พันล้านบาท ลดลง 8.4% คิดเป็นแรงงานจำนวน 2.51 พันคน อย่างไรก็ดีถือว่าลดลง 31.04% จากช่วงเดียวกันของปี2562อยู่ที่ 3.64 พันคน

           การปิดกิจการไม่น่าเป็นห่วง ด้านรัฐบาลมีมาตรการดูแลแรงงานเหล่านี้เช่นกัน รวมถึงยังมีความต้องการแรงงานอีกจำนวนมากสังเกตได้จากยอดขอขยายโรงงานที่เพิ่มขึ้นในมกราคม 13.64%"

           ด้าน นายทองชัย ชวลิตพิเชษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจาก จีนและสหรัฐสามารถบรรลุยุติข้อตกลงทางการค้าร่วมกันได้เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา

เรียบเรียงโดย: tkvariety