ผลที่ได้ เมื่อเอามาม่าคัพ เข้าไมโครเวฟ เตือน อย่าหาทำ

        บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่มีติดบ้านทุกบ้าน ซึ่งเป็นอาหารที่ตอบโจทย์ เวลาหิวดึกๆ และเวลาที่ขี้เกียจออกไปข้างนอก ทั้งนี้หลายคนที่ชอบความสะดวก ด้วยการนำมาม่าคัพเข้าไมโครเวฟ ขอเตือนก่อนนะคะ ว่าดูดีๆว่า คัพนั้นเป็นยังไง เพราะบางคัพ ไม่สามารถเข้าเวฟได้ เพราะอาจจะเกิดไฟลุก เหมือนชาวเน็ตท่านนี้ 

         นอกจากนี้ยังมีชาวเน็ตหลายท่าน ที่เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้ และต่อมาได้มีมีการให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การนำมาม่าคัพเข้า ไมโครเวฟโดยระบุว่า 

        มาม่าคัพ เป็นถ้วยกระดาษลามิเนตพลาสติกชนิด PE Food Grade (Polyethylene) ไม่มีการเคลือบ Wax เมื่อเติมน้ำร้อนยังสามารถถือถ้วยได้โดยไม่ร้อนมือ เพราะถ้วยออกแบบให้มีปลอกกระดาษชั้นนอกที่พิมพ์ฉลากสวมทับไว้ ทำให้เป็นฉนวนอากาศป้องกันไม่ให้ความร้อนในถ้วยออกไปสู่ภายนอก และยังสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้

        ถ้วยทุกชนิดถูกควบคึมโดย อย ตามมาตรฐานที่ตรวจรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับถ้วยกระดาษเคลือบ Wax ที่มีใช้ในอดีต และ ไม่พบเห็นในปัจจุบันมานานแล้ว ได้แก่ ถ้วยที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มชนิดเย็น Wax ที่เคลือบจะมีจุดหลอมเหลวต่ำประมาณ 65 องศาเซลเซียส ถ้วยชนิดนี้ไม่สามารถใช้บรรจุอาหารร้อนตามมาตรฐานสากล ดังนั้นจึงไม่ควรหลงเชื่อข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ ที่กำลังแพร่กระจายอยู่ตามสื่อต่างๆในหลายรูปแบบ

        นอกจากนี้ ยังมี Wax ที่สามารถรับประทานได้ เช่น Wax ที่ใช้ในการเคลือบผักและผลไม้ เพื่อยืดระยะเวลาการเก็บรักษาให้ยาวนาน ป้องกันโรคราและแมลง รักษาน้ำหนัก รสชาติ และการสูญเสียวิตามิน

ภาชนะสำหรับบรรจุบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วย โดยทั่วไปมี 3 แบบ

1. ถ้วยพลาสติก PP (Polypropylene) ขึ้นรูปโดยการหลอมเม็ดพลาสติก PP Food Grade แล้วยิงขึ้นรูปถ้วย พลาสติกประเภทนี้สามารถใช้กับผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดนการเติมน้ำ ร้อนหรือนน้ำธรรมดาและเข้าไมโครเวฟก็ได้ ถ้วยพลาสติกมีความแข็งแรงง ป้องกันความชื้นและกลิ่นได้ดี

2. ถ้วยโฟม PS (Polystyrene) ขึ้นรูปโดยการหลอมพลาสติก PS แล้วขึ้นรูปถ้วย ซึ่งจะมีลักษณะเป็นเม็ดโฟมเล็กๆเกาะกันแน่น มีข้อดีคือ เป็น ฉนวนความร้อน เมื่อชงน้ำร้อนในบะหมี่แล้ว บะหมี่จะร้อนนาน ผู้ถือถ้วยจะไม่รู้สึกร้อน อย่างไรก็ตามถ้วยโฟมไม่สามารถทนความร้อนระดับ 100 องศาเซลเซียสได้ จึงไม่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ ยังมีข้อเสียของบรรจุภัณฑ์โฟมอีกหลายประการ คือ เป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยวิธีทางชีวภาพโดยจุลินทรีย์ ยังไม่มีวิธีรีไซเคิลที่เหมาะสม (นักวิชาการประเมินว่าต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย) นอกจากนี้ถ้วยโฟมพิมพ์สีภายนอกได้ไม่สวยงาม จึงต้องอาศัยการหุ้มด้วยพลาสติกอีกชั้นหนึ่งเพื่อเป็นพื้นที่ฉลากอาหาร[ads]

3. ถ้วยกระดาษลามิเนตพลาสติกชนิด PE (Polyethylene) ขึ้นรูปโดยการพ่นพลาสติก PE Food Grade เป็นฟิลม์เคลือบบนผิวกระดาษด้านในของถ้วย ถ้วยชนิดนี้ เมื่อเติมน้ำร้อนยังสามารถถือถ้วยได้ไดยยไม่ร้อนมือ เพราะถ้วยออกแบบให้ปลอกกระดาษชั้นนอกที่พิมพ์ฉลากสวมทับไว้ ทำให้เป็นฉนวนอากาศป้องกันไม่ให้ความร้อนในถ้วยออกไปสู่ภายนอก และยังสามารถนำเข้าไมโครเวฟได้ อย่างไรก็ตามถ้วยอาจอ่อนตัวลงเล็กน้อยจากไอน้ำ จึงควรถือถ้วยอย่างระมัดระวัง

        ฉะนั้นแล้ว ห้ามนำโลหะเข้าไมโครเวฟ ฝาที่มันไหม้นั้นเป็นโลหะ ก็เลยออกมาอย่างที่เห็นจ้า ส่วนใครที่อยากจะเวฟ อาจจะทำได้ แต่ต้องแวะฝาออกให้หมด ยังไงก็ใช้กันแบบระมัดระวังด้วยนะคะ หวังว่าข้อความข้างต้นนั้นจะเป็นประโยชน์แก่หลายท่าน 

ขอขอบคุณที่มาจาก: PiiJii PiiJii