อีกหนึ่งวิธี ปูกระเบื้อง แบบใช้ปูนผสมขุยหนู

            ถ้าพูดถึงงานปูกระเบื้องไม่ว่าจะเป็นส่วนพื้นหรือผนัง มีขั้นตอนและรายละเอียดมากมาย ตั้งแต่การเลือกใช้เทคนิควิธีการปูที่เหมาะสมกับชนิดกระเบื้อง ทักษะ ความชำนาญ และความประณีตละเอียดอ่อน ดังนั้นเจ้าของบ้านและช่างปูกระเบื้องควรศึกษาถึงวิธีการปูกระเบื้องให้อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันความเสียหาย กระเบื้องไม่ได้ระดับ หลุดล่อน ไปจนถึงโก่งตัวหรือระเบิดได้ วันนี้จึงนำวิธีการปูกระเบื้องอีกหนึ่งวิธีมาฝาก นั้นคือการ ปูแบบผสมขุยหนู ซึ่งมีผู้ทำจริงได้มาลงรีวิวไว้ว่า

            ปัจจุบันมีวิธีการปูกระเบื้องแบบใหม่ที่ก่อปัญหาไม่แพ้กัน  เรียกว่าการปูกระเบื้องด้วย “ปูนขี้หนู” การปูกระเบื้องวิธีนี้เป็นการปูแบบหนา  โดยใช้ปูนผสมทรายแล้วผสมกับน้ำในอัตราส่วนน้อย ๆ ทำให้ปูนดูเป็นขุย ๆ เหมือน “ขี้หนู” จากนั้นจะเทปูนนี้ลงบนพื้นที่ที่จะปูกระเบื้อง  ช่างจะวางแผ่นกระเบื้องลงไปบนผิวปูนขี้หนูแล้วกดปรับความเรียบของพื้นโดยใช้ลักษณะที่เป็นรูพรุน  และเป็นโพรงอากาศของปูนขี้หนูเป็นตัวปรับระดับ

            ช่างนิยมปูกระเบื้องด้วยปูนขี้หนูเพราะปูง่าย ปูได้เร็ว ทำงานครั้งเดียว  แต่ปัญหาใหญ่คือ  กระเบื้องมักไม่ค่อยได้แนว  เนื่องจากปูนที่ผสมน้ำน้อยนั้นกว่าจะเซ็ตตัวต้องใช้เวลานาน  ทำให้มีโอกาสที่กระเบื้องขยับตัวได้ง่าย  อีกทั้งมีโอกาสที่กระเบื้องหลุดในภายหลัง  

              เพราะเนื้อปูนที่พรุนจึงยึดเกาะกับหลังกระเบื้องได้ไม่ดีนัก  ยิ่งถ้าผสมปูนน้อยเกินไป  หรือใส่น้ำน้อยเกินไปจนไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีมากพอ  ปูนข้างใต้กระเบื้องจะแข็งแรงน้อยมาก และปัญหาที่ใหญ่ที่สุดคือ  ถ้าใช้การปูกระเบื้องด้วยวิธีนี้บนพื้นที่ภายนอก เช่น เฉลียง ระเบียง หรือ ห้องน้ำที่มีโอกาสโดนน้ำหรือมีน้ำขัง  ถ้าน้ำซึมผ่านยาแนวกระเบื้องลงไป  น้ำจะสะสมอยู่ในปูนขี้หนูที่อยู่ใต้

งานสะอาด[ads]

ปูเรียบร้อย

งานสะอาด

ข้อดีของการปูแบบ ขุยหนู

ทำเหมือนกัน

ปูนกาวดีที่สุด

          วิธีนี้ ก็มีข้อเสียเช่นกัน คือ ปูนขี้หนูที่อยู่ใต้กระเบื้อง มีโอกาสเคลื่อนตัวหรือยุบตัว ทำให้เกิดปัญหากระเบื้องกระเดิด หรือหลุดล่อนได้ หรือหากมีน้ำซึมลงไปตามร่องยาแนวได้ น้ำจะไปทำปฏิกริยากับปูนขี้หนู ส่งผลให้เกิดคราบขาวบริเวณขอบกระเบื้องได้ ตลอดจน เรื่องของสัดส่วนการผลม ก็มักจะไม่มีความสม่ำเสมอ ส่งผลต่อการยึดเกาะของกระเบื้องด้วยเช่นกันหากเป็นไปได้ เราอยากแนะนำให้ ทำการเทปรับพื้นให้ได้ระดับเสียก่อน โดยเหลือความหนาไว้สำหรับความหนาของกระเบื้อง หรือ หิน และความหนาของกาวซีเมนต์ เพียง 3-5 มิลลิเมตร เท่านั้น

ขอขอบคุณที่มาจาก: ชุมพร ธรรมวงศา