อาจารย์วิศวะไขข้อสงสัย กรณี ถนนหลุดเป็นแผ่นหลังฝนตกหนัก

               หลังจากที่ได้มีการวิจารณ์เรื่องถนนทำไม่ได้มาตฐานเนื่องจากฝนตกหนักมาหลายวันแล้วถนนเกิดการหลุดขาดออกเป็นแผ่นจนทำให้หลายคนคิดว่าโก่งกินล่าสุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ิอาจารย์ ประจำสาขา วิศวกรรมปฐพี ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยระบุว่า 

               พาดหัวข่าวชวนให้คิดว่ามีการโกงกินหรือทำไม่ได้มาตราฐาน เข้าไปอ่านในเนื้อข่าวก็ไม่ได้พูดเกี่ยวกับประเด็นที่จั่วไว้ กลับพูดรายงานทั่วๆไป ผมเลยคิดว่าคงจะขอให้ข้อคิดเห็นในมุมอื่นบ้าง โครงสร้างทางวิศวกรรมจะถูกออกเเบบตามเงื่อนไขการใช้งานครับ การออกเเบบคันถนนเเละผิวทางจะออกเเบบเพื่อให้รับเเรงกระทำจากรถในเเนวดิ่ง (CBR เเละ Compaction test) มีการตรวจสอบดินฐานรากเพื่อให้รับน้ำหนักคันทางได้ (Bearing and slope stability) ตรวจสอบวัสดุคันทางให้สามารถรับเเรงกดจากรถได้ทั้งในสภาวะเปียกเเละเเห้ง (CBR) สำหรับในกรณีนี้ ถนนไม่ได้ถูกออกเเบบให้รับเเรงกระทำจากน้ำ ซึ่งไม่ได้มีมาตราฐานกำหนดสำหรับงานทาง ถ้าจะใช้ในวัตถุประสงค์ในการกันหรือทนทานจากน้ำ ต้องออกเเบบเหมือนคันกั้นน้ำหรือเขื่อน หรือออกเเบบให้สามารถทน hydraulic shear stress ซึ่งไม่มีในมาตราฐานทั่วไป เว้นเเต่กรณีพื้นที่นั้นมีการท่วมขังของน้ำเป็นประจำ ก็มีการออกเเบบผิวทางให้ทนทานเเละง่ายตอการซ่อมเช่นงานของ ทช ที่นครนายก เเต่ก็ได้เฉพาะน้ำล้นไหลบ่า ไม่ได้มีความเร็วมาก

              ในกรณีนี้ผมเห็นว่าเเรงกระทำเป็นเรื่องที่เกินกว่าสิ่งที่วิศวกรจะสามารถกำหนดเป็นเงื่อนไขการออกเเบบได้ หรือถ้าจะไปกำหนดว่าต้องทนน้ำหลากน้ำท่วมได้ ก็ต้องใส่ท่อลอดระบายหรือออกเเบบให้ทนทานเกินปกติ ก็ไม่น่าจะได้งบ สำหรับเหตุการที่ผลกระทบน้อยเเละมีโอกาสเกิดขึ้นต่ำเเบบนี้ (หมายถึงโอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมรุนเรงขนาดนี้)

อธิบายได้ครบถ้วน

ขอบคุณอาจารย์

เป็นแผ่นแบบนี้

             ในกรณีนี้อาจารย์ชี้ว่าเเรงกระทำเป็นเรื่องที่เกินกว่าสิ่งที่วิศวกรจะสามารถกำหนดเป็นเงื่อนไขการออกเเบบได้ หรือถ้าจะไปกำหนดว่าต้องทนน้ำหลากน้ำท่วมได้ ก็ต้องใส่ท่อลอดระบายหรือออกเเบบให้ทนทานเกินปกติ  แต่ก็ต้องใช้งบที่มากเช่นกัน กรณีนี้งบอาจจะไม่เพียงพอ 

ขอขอบคุณที่มาจาก: Suttisak Soralump