หายสงสัย ทำไม Staff Pit พนักงานเปลี่ยนยางรถ จึงมีรายได้ถึง 3 แสนต่อครั้ง

       หากใครที่เคยชมหรือเป็นแฟนการแข่งขันรถ คงจะเคยได้ยินหรืออาจจะเคยรู้จักกับอาชีพ Staff Pit หรือพนักงานเปลี่ยนยางรถ ที่จะมาเปลี่ยนยางในสนามหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น ซึ่งว่ากันว่าพวกเขามีรายได้มากถึง 3 แสนบาทต่อครั้งเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าหลายคนคงจะสงสัยว่าเพราะอะไร รายได้ของพวกเขาจึงสูงเช่นนี้

       ล่าสุด เฟซบุ๊กเพจ SWIVEL ได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ ระบุว่า "พนักงานเปลี่ยนยางรถ ที่มีรายได้มากที่สุดถึง 300,000 ต่อครั้ง ว่ากันว่า งานที่หาเงินได้เร็วมีน้อย หากไม่ใช่ช่องทางการทุจริต แต่รู้ไหมว่างานที่ต้องลงมือด้วยความรวดเร็ว มีรายได้มหาศาล ซึ่งรายได้ที่สูงที่สุด อยู่ที่ประมาณ 300,000 บาทต่อครั้งเลยทีเดียว

       แล้วงานที่ว่านั้น จะน่าสนใจอย่างไร ผู้เขียนจะพาไปทำความรู้จักกัน..หากเราขับรถเข้าไปเปลี่ยนยางใหม่ในอู่เวลานี้ ก็จะมีพนักงานหลายตำแหน่ง ช่วยเปลี่ยนยางรถยนต์ของเราให้ โดยเงินเดือนของพนักงานเหล่านั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 20,000-50,000 หรืออาจจะมากกว่านั้น (ข้อมูลโดยประมาณ หากผิดพลาดประการใด ทางเพจต้องขออภัยมา ณ ที่นี้)

       แต่รู้ไหมว่าทีมเปลี่ยนยางหลายทีมในโลก ที่สามารถเปลี่ยนยางโดยใช้เวลาเพียงแค่ไม่ถึง 2 วินาที ย้ำว่าไม่ถึง 2 วินาที ซึ่งค่าตัวของบุคคลในทีมเหล่านั้น สูงสุดถึง 300,000 บาท

       ทีมที่ว่านี้เป็นใคร ? ทีมที่ว่านั้นก็คือ Staff จังหวะเข้า Pit Stop บนการแข่งขันรถสูตรหนึ่ง ที่เป็นรายการสูงที่สุดของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ทั้งนี้ การแข่งขันรถสูตรหนึ่ง มีความสำคัญต่อชื่อแบรนด์รถยนต์ทั่วทั้งโลกอย่างมาก โดยทีมในแต่ละฤดูกาลจะมีทั้งหมด 10 ทีม ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับการก่อตั้ง และเข้าซื้อกิจการโดยค่ายรถยนต์ใหญ่ หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Ferrari, McLaren, Redbull และ Renault เป็นต้น

       ล้วรถสูตรหนึ่งมีความสําคัญต่อแบรนด์รถยนต์ทั่วโลกอย่างไร ? ในแต่ละปี จะมีผู้คนจากทั่วโลก เฝ้ารอการติดตามการแข่งขันรถสูตรหนึ่งมากถึง 600 ล้านคน หรือคิดเป็น 9 -10 เท่าของประชากรไทย ซึ่งผู้ชมที่มากโผขนาดนั้น จึงเป็นช่องทางสื่อโฆษณาได้ดี ฉะนั้น บริษัทรถยนต์และแบรนด์ดังทั่วโลก จึงเข้าจับจองการเป็นสปอนเซอร์ บ้างก็สนับสนุน ในฐานะเจ้าของเครื่องยนต์ อย่างเครื่องยนต์ Honda ที่ได้ถูกใช้กับทีม Red Bull ในปัจจุบัน

       หรือบ้างก็สนับสนุนด้วยเม็ดเงิน พร้อมกับตีตราแบรนด์ของตัวเองลงบนรถ เช่น แบรนด์สิงห์ของไทย เวลาที่มีการแข่งขัน หรือมีการถ่ายแบบของนักแข่ง เพื่อเอาใจแฟนคลับ ก็จะเป็นอีกทางที่ช่วยในเรื่องการโปรโมทแบรนด์นั่นเอง หรือในทางอ้อม ชื่อของทีมก็อาจจะเป็นหนึ่งในสร้างการโปรโมทอีกทาง อย่างเช่นทีม Red Bull ที่ผู้คนเฝ้ารอชมทั่วโลก

       และผู้คนทั้งโลก ก็จะรู้จักชื่อแบรนด์เครื่องดื่ม RedBull ไปด้วย นั่นจึงช่วยให้ผู้บริโภครู้จักสินค้า ตลอดจนเข้าถึงได้ง่าย ฉะนั้น รายได้ก็จะไม่ได้ส่งตรงถึงทีมแข่งแค่อย่างเดียว แต่ยังส่งตรงถึงบริษัทเจ้าของแบรนด์อีกด้วย รู้ไหมว่าตระกูลอยู่วิทยา ถือหุ้นใน Redbull รวมกว่า 51% นั่นจึงทำให้รายได้มหาศาล หลั่งไหลเข้ามายังตระกูลนี้อีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว ทีมรถสูตรหนึ่งที่มีอันดับต้นๆ ก็จะได้รับภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งการเปลี่ยนยางใน Pit lane ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ทีมสามารถคว้าชัยชนะได้

       ฉะนั้น ทีมพิตหรือ Pit Crew Staff จึงต้องทำงานด้วยความรวดเร็วเป็นอย่างมาก ในปี 2013 ทีม Ferrari ในการแข่งขันที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ใช้เวลาในการเข้าพิตเปลี่ยนยางแค่ 3.5 วินาที ถือเป็นสถิติโลกที่เร็วที่สุดในเวลานั้น ทว่าปัจจุบัน ทีมพิตสามารถเปลี่ยนยางโดยใช้เวลาเพียงแค่ 1.9 วินาทีเท่านั้น หากจะทักทายกันด้วยคำว่าสวัสดีครับ ทีมพิตยังทำงานได้เร็วกว่าเสียอีก นอกจากความรวดเร็วในการทำงานที่น่าทึ่งแล้ว ค่าตัวของทีมพิตในแต่ละเรซ ดูเหมือนว่าจะน่าทึ่งเสียยิ่งกว่า

       โดยทีมพิตปัจจุบันจะมีจำนวนราว 22 คน แต่ละส่วนจะมีหน้าที่ดังนี้..ตำแหน่ง Crew Chief 1 คน ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า คอยยืนควบคุมสั่งการ และดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างบริเวณ Pit Stop มีรายได้อยู่ราว 300,000 บาทต่อคน ตำแหน่ง Lolilop Man 1 คน ทำหน้าที่ให้สัญญาณรถสูตรหนึ่งในการเข้าพิต ออกพิต เพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 45,000 บาทต่อคน ตำแหน่ง Stop Maker Wheel Off 1 คน ทำหน้าที่ให้สัญญาณนักขับ โดยยืนถือป้ายอยู่หน้ารถ ให้รู้ว่ากำลังอยู่ในช่วงสับเปลี่ยนยาง หรือเติมน้ำมัน เมื่อทำทุกอย่างเสร็จ ก็จะให้สัญญาณออกตัว มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 45,000 บาทต่อคน

       ตำแหน่ง Front Jack 1 คน ทำหน้าที่ใช้เครื่องมือยกรถฝั่งด้านหน้า มีรายได้เฉลี่ย 90,000-100,000 บาทต่อคน

       ตำแหน่ง Rear Jack 1 คน ทำหน้าที่ใช้เครื่องมือยกรถฝั่งด้านหลัง มีรายได้เฉลี่ย 90,000-100,000 บาทต่อคน

       ตำแหน่ง Stabilizer 2 คน ทำหน้าที่ประคองตัวรถฝั่งซ้ายและขวา เพื่อป้องกันการเขยื่อนของตัวรถขณะยกขึ้นจากพื้น

       ตำแหน่ง Type Changers ทำหน้าที่เปลี่ยนยาง ทั้งหมด 12 คน ใช้ 3 คนต่อหนึ่งล้อ โดยทั้งสามจะแยกย่อยออกเป็น

       Wheel Gunner 1 คน ทำหน้าที่ยิงสกรู ปลดเข้าออก มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 150,000 บาท

       Wheel Off 1 คน ทำหน้าที่ถอดยาง มีรายได้เฉลี่ย 105,000 บาท

       Wheel On 1 คน ทำหน้าที่ใส่ยาง มีรายได้เฉลี่ย 105,000 บาท

       ส่วนที่เหลืออีกสองตำแหน่ง ก็จะเป็นส่วนสำรองสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น

       คนถอดสับเปลี่ยนปีกหน้า จะมีรายได้อยู่ที่ 100,000 บาท

       คนเติมน้ำมัน จะมีรายได้อยู่ที่ 150,000 บาท

       ที่กล่าวมา เป็นรายได้ที่ทีมพิตจะต้องได้รับในการแข่งขัน แต่ละนัด ย้ำว่าแต่ละนัด.. ซึ่งถ้าหากหนึ่งเดือนมีการแข่งขัน 4 สนาม สนามละ 3 เรซ นั่นก็หมายความว่า พวกเขาจะมีรายได้ทวีคูณขึ้นไป 12 เท่า เช่น Crew Chief ที่มีรายได้ต่อเรซ 300,000 บาท หนึ่งเดือนก็อาจจะได้รับรายได้สูงสุดถึง 3,600,000 บาท หรือเท่ากับเงินเดือนผู้บริหารบางบริษัท เลยทีเดียว..

       อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองก็เคยมองว่า ทีมพิตในการแข่งขัน เป็นเพียงพนักงานธรรมดา แต่พอรู้ความจริงเข้าแล้ว ค่าของเงินที่พวกเขาได้รับ เป็นเพียงผลกำไรเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น บนอุตสาหกรรมยานยนต์ พวกเขาทั้งดูแลความปลอดภัย และเป็นหนึ่งในทีมที่ได้รับการเรียกขานว่าทำงานเร็วที่สุดในโลก ซึ่งก็ต้องแลกมาด้วย การฝึกซ้อมที่หนักหน่วงเช่นเดียวกัน จากนี้ผู้เขียนเองก็คงไม่มอง อาชีพใด หรืองานใดแบบผิวเผินอีกแล้ว นี่แหละ ที่ผู้เฒ่าผู้แก่บอกเอาไว้ว่า "ทุกอาชีพ มีเกียรติหมด อยู่ที่ว่าเรา จะให้เกียรติอาชีพนั้นๆ หรือเปล่า..""

       เป็นอีกหนึ่งความรู้ใหม่ๆของใครหลายๆคนเลยทีเดียว อาชีพที่เราเห็นเหมือนเป็นตัวประกอบในการแข่งขันรถ กลับเป็นอาชีพที่มีรายได้สูงลิ่วเลยทีเดียว

เรียบเรียงเนื้อหาโดย : tkvariety.com, ขอขอบคุณที่มาจาก : SWIVEL