สูตรคำนวณค่าไฟในบ้าน ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ 

        เนื่องจากว่าในปัจจุบันนี้ เป็นยุคที่ เศรษฐกิจดีเท่าไรนัก ส่งผลให้ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายหลาย ๆ อย่างภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าน้ำมันรถ และค่าใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งค่าไฟฟ้านั้นก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ดังนั้นเราจึงควรทราบวิธีการคำนวณค่าใช้จ่ายว่าที่ผ่านมานั้น ใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเงินเท่าไร และมีวิธีการในการ ลดค่าไฟ อย่างไร โดย ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย  ได้ออกมาเผยว่า 

        การคำนวณค่าไฟฟ้าโดยประมาณสามารถใช้เป็นแนวทางในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น และช่วยให้การใช้ไฟฟ้าในบ้านลดลงได้มาก ซึ่งหมายถึงการประหยัดพลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายในบ้านด้วยค่ะ  แต่ก่อนจะไปถึงขั้นตอนการคำนวณ เราจะต้องสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านก่อนนะคะ 

        1. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านใช้กำลังไฟเท่าไหร่ (จำนวน WATT กำกับบนเครื่องใช้ไฟฟ้า)

        2. เครื่องใช้ไฟฟ้ามีประเภทไหนบ้าง เช่น ทำความร้อน ทำความเย็น ให้ความสว่าง ใช้มอเตอร์ เป็นต้น

        3. มีจำนวนกี่เครื่อง

        4. ระยะเวลาในการเปิดใช้งานกี่ชั่วโมง ต่อเดือน

หลังจากนั้นเริ่ม  ขั้นตอนการคำนวณ 

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต)

ยกตัวอย่าง  หลอดไฟขนาด 50 วัตต์จำนวน 10 ดวงเปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง

วิธีคำนวณ  50 วัตต์ x 10 ดวง ÷ 1000 x 6 ชม. = 3 หน่วย/วัน (เดือนละ 90 หน่วย)

หลังจากนั้นใช้วิธีนี้คำนวณตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เราเตรียมไว้ทั้งหมดนะคะ

ทีนี้สมมติว่าได้จำนวนรวมมาแล้วเป็น 969.75 หน่วยต่อเดือน  ก็จะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้า ที่อ้างอิงจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดังนี้

       – ราคา 35 หน่วยแรก เหมารวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 85.21 บาท

       – ราคา 115 หน่วยต่อไป หน่วยละ 1.1236 บาท = 115 x 1.1236 บาท รวมทั้งสิ้น 129.21 บาท

       – ราคา 250 หน่วยต่อไป หน่วยละ 2.1329 บาท = 250 x 2.1329 บาท รวมทั้งสิ้น 533.23 บาท [ads]

        – ราคาส่วนที่เกินกว่า 400 หน่วย หน่วยละ 2.4226บาท = (969.75 – 400) = 569.75 x 2.4226บาท) 1,380.28 บาท

** ดังนั้นรวมเป็นเงิน (85.21 + 129.21 + 533.23 + 1,380.28) = 2,127.93 บาท * 

        ทั้งนี้รายละเอียดข้างต้นเป็นวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าในเบื้องต้น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าใช้จ่ายที่การไฟฟ้านครหลวงเรียกเก็บ นอกจากนี้ราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยนั้น อาจมีเปลี่ยนแปลงได้ หากต้องการทราบค่าไฟฟ้าที่แม่นยำ สามารถตรวจสอบค่าใช้ไฟฟ้าได้ที่ http://www.mea.or.th/aboutelectric/116/280/form/11 

ขอขอบคุณที่มาจาก : ตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย  , การไฟฟ้านครหลวง