หลายคนไม่เคยรู้ ทำไมถึงเรียกสีน้ำเงินว่าสีน้ำเงิน 

          สีน้ำเงิน  เป็นหนึ่งในแม่สี เป็นสีในกลุ่มสีโทนเย็น สีน้ำเงินเป็นสีที่สร้างความสุขุมเยือกเย็น หนักแน่นและละเอียดรอบคอบ ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจและการแสดงออกทางศิลปะได้ดีอีกด้วย ขณะที่สีฟ้าให้ความรู้สึกแบบเดียวกับสีเขียว คือ สบายตา ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง โล่งใจ ลดความร้อนรุ่มกระวนกระวายใจลงได้ ซึ่งคุณ นาเม็ก  สมาชิกเว็บไซต์พันทิปได้ออกมาตั้งกระทู้ถามว่า 'ทำไมเขาถึงเรียกสีน้ำเงินว่าสีน้ำเงินครับ อยากทราบในเชิงนิรุกติศาสตร์ ขอบคุณครับ'

     จากเรื่องนี้ก็มีชาวเน็ตหลายท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมายดังนี้ 

ความคิดเห็นจากคุณ TaizoXXX 

    สีเขียวไข่กา เป็นสีของไข่กาจริงๆ ที่มีสีเขียวอ่อนๆ คนเดี๋ยวนี้ไม่เคยเห็นไข่กา ก็เลยนึกไม่ออก สีกรมท่า คือสี เครื่องแบบของ กรมท่า เรือ  สีโอรส จริงคือ ทับศัพท์มาจาก old rose คือกุหลาบสีหม่นๆ ชมพูหม่นๆ สีแดงเลือดนก เป็นเลือดนก เพราะแดงสดมากๆๆ เลือดคน หรือ วัว เวลาเลือดออกมักเป็นเลือดดำๆคลำๆ (เดาเอาว่าเลือดนก มี high o2มากกว่ารึเปล่า)

    ส่วนสีน้ำเงิน ไม่รู้เหมือนกัน ลองหาใน google ก็ไม่มีแฮะ ขอเดาเอาเองว่า มันคือสี น้ำล้างเงิน สมัยก่อน เครื่องเงินที่ทำ มักไม่บริสุทธ์ มักมีทองแดงปน เวลาเอามาตีด้วยความร้อน ทองแดงจะเกาะที่ผิว ทำให้ดำเป็นด่างๆ จึงเอากรดมาล้าง กรดในสมัยก่อน ส่วนใหญ่คือ กรดกำมะถัน (ซึ่งทำได้ง่ายสุดจากการเผากัมมะถันกับโลหะบางชนิดและน้ำ) กรดกำมะถัน จะกัดกร่อนทองแดง แต่ไม่กัดกร่อนเงิน เมื่อเอามาล้าง จะล้างทองแดงออกไป ได้ copper sulfate หรือ จุนสี ซึ่งมีสีน้ำเงินปล เดาล้วนๆอย่าเชื่อมาก 

ความคิดเห็นจากคุณ สมาชิกหมายเลข 1974849 

     การตั้งชื่อสีส่วนใหญ่ก็จะเอามาจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่คนฟังแล้วนึกภาพออกได้เลย ในสมัยก่อนนั้นคนอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มีแต่ธรรมชาติฉะนั้นการตั้งชื่อสีก็ต้องทำให้นึกภาพออกได้เลย เช่น สีไข่ไก่ สีดิน สีหม้อใหม่ สีปูนกินหมาก สีนาก สีงาช้าง สีน้ำนม สีดินหม้อ สีกะปิ การขยายความสีก็หลักการเดียวกันคือใช้สิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาเติมข้างหลังคำหลัก

เช่นสีขาว 

สีดำ 

สีเขียว ก็ เขียวขี้ม้า เขียวไข่กา เขียวหัวเป็ด

สีฟ้าก็ ฟ้าน้ำทะเล ฟ้าท้องฟ้า

แดง ก็ แดงเลือดหมู แดงเลือดนก แดงทับทิม

ม่วง ก็ ม่วงมังคุด ม่วงเม็ดมะปราง

สีเทา ก็ สีเทานกเขา สีเทาขี้เถ้า

    แต่เมื่อมีการรับเอาวัฒนธรรมและภาษาจากต่างชาติมากขึ้นก็มีการหยิบยืมทั้งสิ่งของและคำมาใช้เรียกชื่อ

เช่น  สีพาสเทล

สีเอิร์ทโทน 

สีฟ้าเทอร์ควอย

ความคิดเห็นจากคุณ สมาชิกหมายเลข 941672 

    เวลาเอา เงิน เงาๆ เพื่อดูว่าน้ำงามหรือไม่ ก็ดูกลางแจ้งมันจะสะท้อน สีจากท้องฟ้า  เวลามีอะไรที่สีตรง กับเงินที่สะท้อนจากท้องฟ้า เลยเรียกมันว่า  น้ำ เงิน มั่วเอานะ

ความคิดเห็นจากคุณ Alone among the crowd  

    ส่วนประกอบของธาตุเหล็กทำปฎิกริยากับO2จะออกมาเป็นสีแดง เลือดสัตว์และคนมีเหล็กเป็นส่วนประกอบ เลือดก็ออกมาสีแดง เหล็กที่เป็นสนิมสีก็ออกแดง ส่วนประกอบของธาตุทองแดงทำปฎิกริยากับO2จะออกมาเป็นสีเขียว-น้ำเงิน สุเหร่า-เทพีเสรีภาพทำจากทองแดง สักพักสนิมก็ขึ้นเป็นสีเขียว-น้ำเงิน เลือดปูมีส่วนผสมของทองแดงมาก เลือดปูก็ออกมาสีเขียว-น้ำเงินใส

    สีเหลืองก็คงทองคำหรือปล่าวเดาเอา ครบ3สีก็เป็นแม่สีไปแล้ว สีอื่นก็เกิดจากส่วนผสมมากน้อยจากแม่สี ต้องให้เด็ก ม.5 ม.6 ตอบมั้ง เกี่ยวกับเรื่องการกระเจิงของแสงตามระยะทางที่แสงเดินทางมากระทบกับวัตถุ 

ความคิดเห็นจากคุณ kotaroz 

     รู้แต่ว่าคนแก่ๆ อย่างพ่อผม จะเผลอเรียกสีน้ำเงินว่า สีเขียว บ่อยๆ

     อย่างแบบแปลนที่ภาษาอังกฤษคือ blue print ยังแปลเป็นไทยว่าพิมพ์เขียวเลย คงมีที่มาบางอย่างทืผมยังเกิดไม่ทัน ที่เปลี่ยนการเรียกสี blueจากเขียวเป็นน้ำเงิน 

     สำหรับเรื่องนี้ก็มีหลายๆท่านเข้ามาวิเคราะห์คำตอบนี้ แต่ทั้งนี้เรื่องนี้ก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าใครเป็นคนตั้งหรือเรียกสีน้ำเงินว่าสีน้ำเงินแบบชัดเจน ใครที่รู้คำตอบก็ลองว่าไขข้อสงสัยกันหน่อยนะคะ 

ขอขอบคุณที่มาจาก : นาเม็ก