ผักชีลาว ผักบ้านๆกลิ่นหอมคุณประโยชน์เพียบ

      ผักชีลาว เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) ลำต้นมีสีเขียวเข้มขนาดเล็ก ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนกมีสีเขียวสดออกเรียงสลับกัน ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกมีลักษณะคล้ายกับซี่ร่ม ผลแก่เป็นรูปไข่แบนมีสีน้ำตาลอมเหลือง ถ้านำไปใช้เป็นเครื่องเทศจะเก็บได้ก็ต่อเมื่อดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่จะพบในรูปของการทานสดเป็นผักมากกว่า ซึ่งควรเก็บก่อนที่จะออกดอก 

     สรรพคุณทางยา :นำผลแก่แห้งของผักชีลาวบดให้เป็นผง ชงกับน้ำดื่มวันละ 4-5 แก้ว แก้อาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมหรือใช้ต้นสดของผักชีลาวผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้เช่นกัน ส่วนน้ำมันมักใช้ผสมในยาย่อยอาหาร ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

      ประโยชน์ทางอาหาร :ใบสดและใบแห้งใช้โรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อดับกลิ่นคาว ใบใส่แกงอ่อมแกงหน่อไม้ห่อหมกแกล้มแกงเนื้อน้ำพริกปลาร้าผักใส่ไข่ยอดใบรับประทานกับลาบเมล็ด และใบช่วยชูรสเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหยใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เมล็ดแห้งที่แก่เต็มที่ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราวและขับลมในท้อง เมล็ดก่อนนำมาประกอบอาหารควรบดก่อน โดยนิยมโรยบนสลัดผักและมันฝรั่งบดเพื่อเพิ่มรสชาติ นอกจากนี้น้ำมันผักชีลาวยังใช้แต่งกลิ่นผักดอง น้ำซอส สตู ขนมหวาน เครื่องดื่มและเหล้า

ทั้งนี้ประโยชน์ของผักชีลาวยังมีอีกเพียบ ดังนี้ 

    1. กระตุ้นการทำงานของกระเพาะ ทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปย่อยได้ดีขึ้น และไม่เกิดปัญหาน้ำย่อยหลั่งออกมามากเกินไป จนทำให้ไหลย้อนขึ้นไปเกิดการแสบร้อนที่กลางอก

    2. กระตุ้นอวัยวะขับถ่ายของเสีย มีไฟเบอร์สูงช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบลำไส้ การทำงานของม้าม และตับดีขึ้น จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียในร่างกายทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ปล่อยให้คั่งค้างในกระเพาะเกิดกรดเกิน เกิดก๊าสได้

    3. ลดคอเลสเตอรอล ลดคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุหนึ่งของกรดไหลย้อนได้ การศึกษาในสถาบันวิจัยเคมีชีวภาพและชีวกายภาพของอิหร่าน สรุปได้ว่าการรับประทานผักชีลาว สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกายได้ อันเป็นผลดีต่อสุขภาพหัวใจอีกด้วย

    4. หยุดยั้งการเติบโตของเชื้อโรค ผลการศึกษาในปี 2006 ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน Journal of Food Science แสดงให้เห็นว่า น้ำมันหอมระเหยในผักชีลาวมีประสิทธิภาพต่อต้านเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เช่น ยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียอันตรายต่างๆ อาทิ เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) อันเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษอีกด้วย

    5. ป้องกันอนุมูลอิสระ ป้องกันสารอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อผิวพรรณให้แก่ก่อนวัย และเป็นสาเหตุโรคมะเร็ง และยังมีส่วนช่วยให้เซลล์ในร่างกายทำงานได้สมบูรณ์

    6. นอนหลับสนิท สารฟลาโวนอยด์และวิตามินบีในผักชีลาวจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์และฮอร์โมนบางชนิดส่งผลให้เกิดภาวะสงบและนอนหลับได้อย่างดี

    7. ช่วยกระดูกและฟันแข็งแรง แคลเซียมสูงในผักชีลาว ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

    8. รักษาไข้หวัด ลดอาการไข้หวัด คัดจมูก และไอ และมีการนำเอาผักชีลาวไปเป็นส่วนผสมหนึ่งของอาหารเสริมที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดอีกด้วย

     สำหรับใครที่อยากจะปลูกผักชีลาวนั้น สามารถเพาะได้ด้วยการใช้เมล็ด ซึ่งใช้เวลาเพียง ในการปลูกประมาณ 60 วัน ก็สามารถนำมาประกอบอาหารหรือกินสด ๆ ก็ได้ทั้งนี้มีการฟื้นดิน ตากแดดให้แห้งเพื่อทำลายเชื้อโรคและวัชพืชที่อยู่ในดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นก็ทำการ พรวนดิน เก็บเศษวัชพืชต่างๆ และนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วมาใส่คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ทั้งนี้เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าพบว่าดินเป็นกรด ควรนำปูนขาวมาคลุกกับดินเพื่อปรับสภาพของดินให้เหมาะในการเพาะปลูก