น้ำมันหมู ดีกว่าน้ำมันมะพร้าว จริงหรอ

           เรื่องสุขภาพใครๆก็คงรัก และต้องการสิ่งดีๆให้กัตัวเอง เช่นเดียวกันกับเจ้าของโพสต์นี้ ที่มีเพื่อนแนะนำให้ใช้ น้ำมันหมูแทน มันมะพร้าวที่ใช้อยู่ เหตุผล ว่าดีต่อสุขภาพ ซึ่งหลายคนเห็นแล้วต่างก็เกิดความสงสัย และ อยากจะทราบว่า น้ำมันทั้งสองดีต่างกันอย่างไร วันนี้เราจึงจะพาไปหาคำตอบกันจ้า 

ไขมันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ไขมันอิ่มตัว กับไขมันไม่อิ่มตัว

-ไขมันอิ่มตัว ส่วนใหญ่เป็นไขมันที่ได้มาจากสัตว์ มีส่วนน้อยที่มาจากพืช เช่น มะพร้าว ปาล์ม

-ไขมันไม่อิ่มตัว ส่วนใหญ่เป็นไขมันที่มาจากพืช มีส่วนน้อยที่มาจากสัตว์ เช่น ปลา

            ข้อดีของไขมันอิ่มตัว คือ มีความคงตัวแม้จะโดนความร้อนสูง ไม่กลายเป็นไขมันทรานช์ง่าย ๆ (ไขมันที่ถือว่าแย่ที่สุด) ในขณะที่ไขมันไม่อิ่มตัวมักกลายเป็นไขมันทรานช์เมื่อโดนความร้อนสูง ส่วนข้อเสียคือไขมันอิ่มตัวหากรับประทานมากเกินไปจะทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น และมีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มได้ง่ายเพราะดึงมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ยากกว่าไขมันไม่อิ่มตัว

            ในขณะที่ไขมันไม่อิ่มตัว ได้เปรียบเรื่องการเผาผลาญที่ง่ายกว่า แต่ไม่คงตัวเมื่อถูกความร้อนสูง น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารนั้น ประกอบไปด้วยไขมันชนิดอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว เป็นสัดส่วนที่ต่างกันไปในแต่ละชนิดน้ำมัน เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม จะมีสัดส่วนไขมันอิ่มตัวสูง มากกว่า 80% จึงทำให้มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี เหมาะกับการทอดอาหารที่ต้องใช้ความร้อนสูง และเวลานาน เพราะไม่เปลี่ยนไปเป็นไขมันทรานช์นั่นเอง

           น้ำมันหมู มีกรดไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง ทำให้จุดเกิดควันสูงตาม จึงเหมาะกับการปรุงอาหารประเภททอด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคหลอดเลือดและหัวใจ เพราะอุดมไปด้วยไขมันเลวและคอเลสเตอรอลสูง รวมไปถึงการใช้น้ำมันหมู หากใช้ซ้ำจะยิ่งเสี่ยงต่อการสะสมในร่างกาย

           ส่วน น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) มีกรดไขมันอิ่มตัวสูงมาก สูงกว่าน้ำมันหมูด้วยซ้ำ ใช้ความร้อนสูงได้ เหมาะกับการทอด แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ น้ำมันมะพร้าว ( Coconut Oil ) มีความยาวของสายโมเลกุลปานกลาง ทำให้ย่อยง่าย ดูดซึมไว สะสมในร่างกายน้อยกว่าน้ำมันตัวอื่นๆ ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต[ads]

น้ำมันมะพร้าวดีกว่า

ขึ้นอยู่กับเมนู

สลับกันใช้

           น้ำมันทั้งสองชนิดนี้เป็นน้ำมันที่มี กรดไขมันอิ่มตัวสูง (น้ำมันหมู 40% น้ำมันมะพร้าว 88%) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่จับกับธาตุคาร์บอน (C) ในลักษณะแขนเดี่ยว (single bond) เมื่อโดนความร้อนสูง ก็ทำให้อาหารกรอบ อร่อย ไม่มีสารเคมีเป็นพิษ และน้ำมันที่ใช้ทอดแล้วก็เก็บไว้ทอดซ้ำเกิน 2 ครั้งไม่ได้เพราะจะดำและเหม็นหืน ซึ่งผิดกับน้ำมันพืชอื่นๆ ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งมีโครงสร้างเคมีเป็นแขนคู่ (double bond) ในการจับกับธาตุคาร์บอน จึงสามารถจับกับ ธาตุไฮโดรเจนเพิ่มได้อีก 2 อะตอม จึงเหมาะกับการเติมไฮโดรเจน ( Hydrogenation) ซึ่งเรียกว่า Trans Fatty Acid (TFA)

ขอขอบคุณที่มาจาก:  Anurak Tum