ดูแผนที่แล้วจะเข้าใจ ทำไมน้ำท่วมหนักที่อุบลฯ

             หลังจากที่มีประชาชนประสบภัยน้ำท่วมกันหนักและมีหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่อยู่ข้าวของเสียหาย และมีหน่วยงานเข้าช่วย พร้อมทั้งจิตอาสาจำนวนมาก ​และช่วงนี้พบว่าน้ำค่อยๆลดลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีหลายจุดที่ไม่สามารถอยู่ได้ เพราะระดับน้ำยังสูง 

             หลายคนก็ยังอาจจะสงสัยว่า ทำที่อุบลถึงท่วมหนัก ล่าสุดธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เล่าถึงเหตุที่น้ำท่วมเช่นนี้ว่า น้ำท่วมอุบล แก้ที่วิถีชีวิต”ดูรูปแผนที่ จะเข้าใจได้ว่า พื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปตะวันออก น้ำฝนที่ไหลลงแม่โขง จึงจะชุมนุมอยู่ที่อุบลเป็นธรรมดา

            รูปสภาพน้ำท่วม โดยเฉพาะเปรียบเทียบช่วงก่อน และระหว่างท่วม จะเห็นได้ว่าแผ่ครอบคลุมบริเวณกว้างมาก แสดงว่าเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแอ่งกระทะตื้น ดังนั้น จะท่วมอยู่หลายวัน กว่าน้ำจะไหลลงแม่โขงได้หมดปัญหาโลกร้อนได้เปลี่ยนแปลงสภาพอากาศบางทวีปอย่างมาก บางแห่งหน้าร้อนจะร้อนมากขึ้น บางแห่งหน้าหนาวจะหนาวมากขึ้น และในช่วงหน้าฝน บางแห่งฝนจะหนักมากขึ้น น้ำท่วมจึงมีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้น

            ในรูปข้างล่าง ในรอบ 40 ปี อุบลเจอน้ำท่วมใหญ่ถึง 6 ครั้ง ระดับน้ำวัดที่สะพานเสรีประชาธิปไตยสูงนับ 10 เมตร! และแม้แต่รูปถ่ายเมื่อปี 2560 ซึ่งไม่ถือเป็นน้ำท่วมใหญ่ พื้นที่ท่วมก็กินเข้าไปในเมืองหลายจุด

            แนวโน้มอนาคตจะแย่ลง ดังเห็นได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมเว้นว่าง 20 ปี 10 ปี ล่าสุดบางทีเกิดหลายปีติดต่อกัน ถามว่า จะมีวิธีบริหารไม่ให้น้ำท่วมได้ หรือไม่? ตอบว่า ทำไม่ได้

            ​เพราะวิธีทำให้น้ำฝนปริมาณมากไหลลงแม่โขงโดยไม่ท่วมนั้น จะต้องมีส่วนเนินเขาลาดชันที่จะสามารถช่วยกันน้ำ ให้อยู่เฉพาะภายในแม่น้ำสายต่างๆ แต่ภูมิศาสตร์จริงของพื้นที่ไม่มีเนินเขาเช่นนั้น รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่าปัญหาเกิดจากชุมชนเมืองขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่สภาพป้องกันตามธรรมชาติเช่นพื้นที่ระบายน้ำหายไป เช่นเดียวกับพื้นที่รับน้ำก่อนเข้าถึงเมือง จึงทำให้เกิดผลกระทบ   ​​รวมไปถึงการจัดการผังเมือง ที่เปลี่ยนพื้นที่สีเขียวการเกษตร ซึ่งเดิมเป็นแหล่งรับน้ำ เปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สีส้ม เพื่อใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย จึงต้องมีการบูรณาการร่วมระหว่าง รัฐ เอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น เป็นการถ่ายโอนอำนาจให้กับภาคประชาชน

            ​สรุปแล้ว ชุมชนในพื้นที่จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ ที่มีแนวโน้มจะท่วมบ่อยขึ้นมาก เช่น ยกระบบถนนให้น้ำลอด จัดสรรพื้นที่ดอนสำหรับเก็บปศุสัตว์ชั่วคราว จัดการให้วิถีชีวิตท้องถิ่นสามารถเดินหน้าได้อย่างติดขัดน้อยที่สุด เป็นต้น  น่าเสียดาย ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์มิได้ให้ความสำคัญแก่เรื่องแก้ปัญหาตามแนวทางนี้ เอาแต่แก้เป็นคราวๆ กลับเน้นแจกสิ่งของในภาวะวิกฤตเป็นหลัก

           พื้นที่น้ำท่วมในเขตอุบลนั้นไม่สามารถแก้ได้ แต่กลับจะแย่ลง  ​สรุปแล้ว ชุมชนในพื้นที่จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้ำ ที่มีแนวโน้มจะท่วมบ่อยขึ้นมาก เช่น ยกระบบถนนให้น้ำลอด จัดสรรพื้นที่ดอนสำหรับเก็บปศุสัตว์ชั่วคราว จัดการให้วิถีชีวิตท้องถิ่นสามารถเดินหน้าได้อย่างติดขัดน้อยที่สุด เป็นต้น

ขอขอบคุณที่มาจาก: Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล