ไขข้อสงสัย ทำไมกินแล้วไม่จ่ายเงินต้องเรียก ชักดาบ

        เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยได้ยินคำพูดว่า ชักดาบ สำหรับคนที่กินแล้วไม่จ่าย ซึ่งอาจจะเกิดความสงสัยกันว่าทำไมถึงต้องใช้คำพูดนี้ วันนี้เราจะพาไปไขข้อสงสัยเรื่องนี้กัน โดยคุณ สมาชิกหมายเลข 5412180  ได้ออกมาเผยว่า 

เกร็ดความรู้คำโบราณ " ชักดาบ "

     ช่วงสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รณรงค์วางนโยบายให้ชาวบ้านทำก๋วยเตี๋ยวขายเพราะเป็นอาหารทานง่ายและวัตถุดิบก็หาได้ง่าย เป็นอาหารที่ถูกปากคนไทย ทำให้เป็นกระแสฟีเวอร์ขายกันทั่วพระนคร และหัวเมืองต่างๆทั่วประเทศ ประกอบกับช่วงนั่นเป็นช่วงคาบเกี่ยวสงครามมหาเอเชียบูรพาพอดี ก็มีกองทหารญี่ปุ่น หรือแม้แต่กระทั่ง คนจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพหนีความแร้นแค้นและภัยสงครามมายังสยาม ก๋วยเตี๋ยวจึงตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี

     เกริ่นมาพอสมควร มาเข้าเรื่อง " ชักดาบ " เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาแต่ปู่ย่า วันนึงมีกองทหารญี่ปุ่น นำโดยนายสิบนี่ละ พาทหารชั้นผู้น้อย พวกทหารเกณท์ญี่ปุ่น ไปนั่งกินก๋วยเตี๋ยวสัก 10 คนได้กระมัง พอกินเสร็จถึงคราวจะคิดตังค์ พ่อค้าเดินไปหาที่โต้ะแต่มีทหารญี่ปุ่นคนนึง ทำท่าชักดาบออกจากฝัก ประมาณว่าเห็นมะ นี่อะไร พ่อค้าเห็นดังกล่าวก็ไม่พูดอะไร ได้แต่ขอรับใต้ท้าวๆ แล้วถอยฉากออกไป เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจษจันท์กันมากในสมัยนั้น เรียกว่ากองทหารญี่ปุ่นไปร้านไหนเตรียมใจไว้เลย นี่ละ ที่มาของคำว่า " ชักดาบ "

จากความคิดเห็น 

จากหนังจีนกำลังภายใน 

มาจากทหารญี่ปุ่นที่กินแล้วไม่จ่ายเงิน

โกงหน้าด้านๆ

ไม่อยากจ่ายก็หาเรื่อง

       สำหรับเรื่องนี้ก็สามารถมองภาพออกจากหนังจีนกำลังภายในสมัยก่อน ที่มักจะหาเรื่องกันที่ร้านสุดท้ายก็ไม่ได้จ่ายค่าอาหาร จึงเรียกว่าเป็นการชักดาบ จึงอาจจะเรียกกันมาติดปากและใช้เป็นคำเปรียบเปรยมาจนถึงทุกวันนี้ 

ขอขอบคุณทีมาจาก : เจ้าชายขี่หมาขาว