ขั้นตอนปฏิบัติตัว หากมีไข้ เจ็บคอในช่วงนี้

         เป็นความรู้ที่ดีในช่วงเวลาที่มีโรคนะบาด ผศ.นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุลวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยวิธีการปฏิบัติหากมีอาการเป็นไข้ ไอ และเจ็บคอ ในช่วงที่ไวรัสโควิดกำลังระบาดอย่างหนัก โดยระบุว่า..ทำอย่างไรเมื่อมีไข้ เจ็บคอ ในขณะนี้

         รู้กันอยู่ว่า Covid-19 ระบาด และมันใกล้ตัวเรามาก ขณะที่รัฐบาล "ผู้ใหญ่ใจดี" ยังแค่ขอความร่วมมือให้ อยู่บ้าน กักตัวเอง 14 วันเมื่อเจอภาวะเสี่ยง และรักษา social distancing   แต่จะระวังตัวอย่างไร คนเราก็มีโอกาสเป็นไข้ เจ็บคอ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่า เราป่วยด้วย Covid-19 แล้ว หรือเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่กันแน่ แถมระยะนี้มีคนที่เข้าข่ายกักตัว 14 วันมากขึ้น การอยู่คนเดียวในห้องจำกัด แถมไม่รู้จะทำอะไร ก็เปิดทีวีหรือเข้าโซเชียล ซึ่งระดมแต่ข่าว Covid-19 ฟังๆไปก็ยิ่งเครียด จนกลายเป็นปสด. อาการปวดหัว ตะครั่นตะครอยิ่งจะเกิด 

         จะรู้ได้ไงว่าตัวเองติดเขื้อแล้วตอบตรงๆว่า ไม่มีทางรู้ ตราบที่ยังไม่ได้ไปตรวจคัดกรองและ กรุณาไม่ต้องดิ้นรนตัวเองไปตรวจด้วย เพราะถ้าเงื่อนไขคุณไม่ครบว่าเสี่ยง เขาก็ไม่ตรวจให้ เพราะสิ้นเปลือง แถมการดิ้นรนไปตรวจของคุณ เป็นการแส่หาโอกาสไปรับเขื้อมากขึ้นอีกก่อนอื่นใช้วิจารณญาณอาการของการติดเชื้อ Covid-19 ซึ่งเริ่มมีการวบรวมมา แม้จะยังไม่เป็นทางการข้อมูลจาก facebook ศ.นพ.อมร เปรมกมล มีดังนี้ครับ:สรุปอาการของโควิด สายพันธ์ที่กำลังระบาดในไทย มาเลย์:(สายพันธ์ในอิหร่าน ยุโรป อาจเป็นคนละstrain เนื่องจากอัตราการตายสูงกว่า)และอาจใช้ยาคนละตัวก็ได้

1.ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ

2.อาการเล็กน้อยจะมีดังนี้

-ไข้ วันแรกจะหนาว กินพาราเซตามอลจะดีขึ้น

-ปวดเนื้อตัว

-คอแห้ง เจ็บคอนิดหน่อย

-อาจมีคัดจมูกสลับข้าง ไม่มีน้ำมูก

-การปวดเมื่อย รุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป 20%

-ปวดหัว

-กินอาหารไม่รู้รส กินอาหารได้ราว50% บางรายขมในปาก

-ปวดข้อระดับ4/10 มีปวดข้อบางข้อ ข้อกระดูกกลางอก ข้อกระดูกขากรรไกร ปวดข้อ

-อยากนำ้ธรรมดาหรือน้ำเย็นแต่ไม่เย็นจัดหรืออุ่นจัด ดื่มนำ้ได้พอควร

-ช่วงแรกอาจมีร้อนที่ผิวกายเหมือนแดดเผา แล้วจะหายไป

-กล้ามเนื้อนี้มีความรุนแรงรระดับ 4/10 -อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตกยกแขนขาไม่ขึ้นไม่พบเลย

-ไม่พบแผลในปาก

-ความรู้สึกต่อความร้อนความเย็น ไม่ผิดปกติจากเดิมนัก

-อาการปวดท้องมีเล็กน้อยบางราย

3.รายที่เป็นมาก จะมีอาการเหมือนข้อ2 แต่มีอาการทางปอดเด่นชัด ไอเพิ่ม เหนื่อย หายใจลำบาก พูดแล้วจะเหนื่อย หายใจไม่เต็มอิ่ม ไอแล้วเจ็บอก หอบ*ข้อมูลที่ได้นี้ยังไม่รวมกลุ่มที่หนักระดับต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ*

หัวใจสำคัญ ของโรคนี้

ก.ถ้าระยะฟักตัวนาน มักไม่ค่อยรุนแรง ถ้าไม่เกิน3วันมักจะหนัก

ข.นำ้มูกแทบไม่มี แต่มักมีไข้ คอแห้งทุกราย

ค.ต้องมีปวดกล้ามเนื้อ

ง.ถ้ามีไอ หอบ จัดเป็นระดับอันตราย เพราะโรคนี้จุดวิกฤติคือปอด เป็นสาเหตุของการตาย[ads]

           อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้ยังไม่สมบูรณ์แต่ข้อมูลข้างต้นอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในโรคนี้ ที่ติดต่อง่ายกว่าไข้หวัด 10เท่าครับ ขอบคุณศ.นพ.อมร เปรมกมล ณ ที่นี้ขณะเดียวกันภาคปฏิบัติดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีไข้ เจ็บคอ?
สิ่งที่จะแนะนำต่อไปนี้ตั้งอยู่บนกลยุทธ์ "ภูมิตน-ภูมิชุมชนเข้มแข็ง" โดยถือว่าคุณอาจกำลังเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อ Covid-19 แล้ว แต่การติดเชื้อของคุณไม่ได้ทำให้คุณป่วยหนัก ภูมิของคุณกำลังสู้กับไวรัสอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน ล้วนมีวิธีคล้ายกันดังที่จะแนะนำคุณสู้เข้าไว้ ภูมิคุณจะแข็ง แล้วคุณก็หาย จากนั้นคุณจะเป็นด่านหน้าต้าน Covid-19 เพราะคุณชนะเขาแล้ว  ทำดังต่อไปนี้

1.มีสติ แยกแยะโรคเองก่อนดังนี้

1.1คุณอาจเป็นแค่หวัดธรามดา ถ้าคุณมีน้ำมูกฟูมฟาย ไม่ปวดเมื่อยตัว

1.2คุณอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดาถ้าคุณมีไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว แต่ไม่แสบคอ ไม่ไอ

1.3คุณอาจเป็น Covid-19 แต่อยู่ในกลุ่มกำลังต่อสู้เอาชนะเขาอยู่ ถ้าคุณไข้ ปวดเมื่อยตัวมาก ปวดหัว แสบคอ คอแห้ง หรือเริ่มมีไอ

1.4คุณอาจเป็น Covid-19 ที่ภูมิต้านทานกำลังจะเพลี่ยงพล้ำ ถ้าคุณมีไข้ ปวดเมื่อยตัวมาก ปวดหัว แสบคอ คอแห้ง ไอมากขึ้น หรือเริ่มหอบ

2.ถ้าคุณเข้าเกณฑ์ 1.3 ให้กักตัวเองและดำเนินการแบบกลุ่ม 1.1 และ 1.2 โดยไม่ต้องตกใจแต่อย่างใด เพราะความจริงมีว่าถ้าคุณไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (อายุมากกว่า 60 ปี, เป็นเบาหวาน ความดันเลือดสูง, โรคหัวใจ, หอบหืด, ภูมิแพ้ ภูมิไวเกินที่ต้องกินยากดภูมิ) แม้คุณจะติดเชื้อ Covid-19 คุณก็ #มีสิทธิ์ตายน้อยมาก อัตราตาย 3% นั้นเขารวมพวกกลุ่มเสี่ยงไว้ ดังนั้นถ้าคุณยังหนุ่มสาวและติดเชื้อ จงภูมิใจว่าคุณกำลังเป็นจิตอาสารับเชื้อก่อนแล้วจะบ่มเพาะตัวเองเป็นแกะหนุ่มสาวต้านฝูงหมาป่าที่จะมากินแกะแก่และแกะอ่อนแอที่คุณจะปกป้องเขาๆได้ (ตามทฤษฎี Herd immunity) เพียงแต่สังเกตอาการตัวเองใน 1-2 วันว่าเลวลงหรือไม่ ไอมากขึ้น นั่นแปลว่าคุณเข้ากลุ่ม 1.4 ถ้าคุณเข้าเกณฑ์ 1.4 นอกจากกักตัวเองแล้ว ให้หาทางนำตัวเองไปโรงพยาบาลโดยวิธีพิเศษที่ป้องกันการติดต่อ ถ้าคุณอยู่ในเกณฑ์ 1.1 กับ 1.2 และ 1.3 ให้คุณดูแลตัวเองขั้นต่อไป

3.กินวิตามินและสมุนไพร

3.1 Vitamin C 1,000 มก. 2 เม็ดทันที และ 1 เม็ดทุก 1 ชม.จนหมดวัน(ถ้าท้องเสียแสดงว่าร่างกายพอแล้ว ให้หยุด) วันรุ่งขึ้น 1 เม็ดทุก 2 ชม. วันถัดไป 1 เม็ด 4 เวลา น่าจะหายหมด วิตามินซีช่วยเพิ่มความทนทานของเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นพลรบสำคัญในด่านหน้าสู้ไวรัส และยังลด inflammatory cytokines

3.2 ปั่นน้ำผักผลไม้กินสดๆ เพื่อรับสาร anti-oxidant, anti-inflame, phyto-nutrient

3.3 กิน N-acetly-cysteine NAC มีหลายยี่ห้อ สารนี้เป็นวัตถุดิบเปลี่ยนเป็น Glutathione ซึ่งเป็นสารต้านการอักเสบที่สำคัญตรงเยื่อเมือกทางเดินหายใจ กิน Livix ส่งเสริมตับกระบวนการขจัดการพิษ

3.4 กินน้ำกระสายยามหาพิกัดตรีผลา สูตร มะขามป้อม:สมอไทย:สมอพิเภก 3:2:1 ลงต้มในน้ำเดือด ราไฟแล้วต้ม 30 นาที แต่งรสด้วยน้ำใบเตยหอม แบ่งดิ่มวันละ 2-3 ครั้ง

3.5 กินสารสกัดเห็ด Betaglucan 1-2 ซอง × 3 เวลา สารนี้กระตุ้น NK cell ได้ดี

3.6 หาแพทย์ฝ่ายโฮมีโอพาธีย์ ซึ่งจะซักประวัติและสั่งสารบำบัดให้ตรงแต่ละบุคคล บทเรียนที่สั่งสมในวงการพบว่ามีสารที่มักได้ผลคือ Bryonia, Pulsatilla, Belladonna, Sulphur ส่วน Gelsemium ยังไม่พบเคสที่เข้าข่าย ฯลฯ

3.7 ถ้ามีโอกาสให้ใช้ High dose Vitamin C หยอดเข้าเส้น

3.8 การแพทย์มนุษยปรัชญามีสาร Mistletoe ซึ่งเรียกภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

4.นอนพักให้มากที่สุด

5.สวดมนต์บทโพชังคปริตร เป็นบทศักดิ์สิทธิ์แต่พุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระอาพาธ ได้โปรดให้พระอานนท์สวดบทนี้ให้พระองค์ฟัง จนหายพระประชวร มนต์บทนี้จึงเหมาะให้ญาติสวดให้ฟัง หรือฟังจากคลิป การสวดมนต์ออกฤทธิ์ผ่าน PNEI ส่งเสริมภูมิต้านทาน

เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ "ภูมิตน-ภูมิชุมชน เข้มแข็ง"

             เป็นคำแนะนำจากคุณหมอบรรจบแพทย์ทากเลือก ซึ่งข้อมูลข้างต้นนั้นถือว่าเป็นสาระน่ารู้ที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติเบื้องต้นได้ เมื่อมีอาการไข้ หรือเจ็บคอในช่วงนี้ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่หลายท่าน และขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีด้วย โควิดเราต้องรอดนะคะ

ขอขอบคุณที่มาจาก: หมอบรรจบ (แพทย์ทางเลือก)