กระจ่าง รับเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืน ต้องทำอย่างไร

        จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีมาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าประมาณ 3,000 บาทต่อครัวเรือน เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน ต่อมาได้มีการยืนยันการจ่ายเงินคนละ 2000 บาท จะยังไม่มีการจ่าย เบื้องต้นจะมีมาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 6,000 บาทต่อครัวเรือน 

        การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ให้ข้อมูลว่า สำหรับ “เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า” ที่จะคืนให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็กนั้น หลายคนที่เคยยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า จะรู้จักกันในชื่อค่าธรรมเนียม “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า”  ซึ่งเป็นเงินที่ครั้งแรกที่แต่ละบ้านยื่นขอใช้ไฟฟ้า  และการไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่งแต่ละบ้านจะได้เงินคืนก็ต่อเมื่อเจ้าของบ้านเดินทางไปทำเรื่องยกเลิกใช้ไฟฟ้า 

        ส่วนการที่การไฟฟ้าฯจะต้อง เก็บ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า”ไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เผื่อกรณีผู้ใช้ไฟฟ้าไม่จ่ายค่าไฟก็จะได้ยึดเงินประกันไป  โดยที่อัตราค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไป ตามขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของแต่ละบ้าน  ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันคืนเมื่อยกเลิกใช้ไฟฟ้าแต่ละขนาด ได้แก่ 

– มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท หรือ บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)

– มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท ซึ่งเป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้ 

– มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท  สำหรับ บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด 

– มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท  เป็นขนาดที่ประชาชนไม่นิยมใช้  

   โดยจะเริ่มทยอยคืนได้ในรอบบิล สิ้นเดือนมีนาคม 63  นี้

          นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุผ่านเฟซบุ๊กว่า ประชาชนสามารถดำเนินการขอคืนเงินกับหน่วยงานที่ท่านยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ท่านขอใช้ไฟฟ้าจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน. )หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) 

          ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าได้ โดยดูที่ด้านหน้าของมิเตอร์  ยกตัวอย่างเช่น ที่บ้านของนาย ก. ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) นาย ก. จะได้รับเงินคืนทั้งสิ้น 2,000 บาท  ขณะที่ บ้านของนาง ข. ใช้มิเตอร์ขนาด 5(15) ก็จะได้รับเงินประกันคืน  300 บาท เป็นต้น 

         สำหรับ ช่องทางการรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืน  ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาในรายละเอียดต่างๆ  คงจะต้องรอความชัดเจนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกครั้ง หวังว่าเนื้อหาข้างต้นน้้นจะเป็ยประโยชน์แก่หลายท่านะคะ

ขอขอบคุณที่มาจาก: การไฟฟ้านครหลวง